การพัฒนาระบบการจัดบริการที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นศูนย์กลาง ในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี จันธิมา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • ศิวะยุทธ สิงห์ปรุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • วีรพล จันธิมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ดวงจันทร์ จันทร์เมือง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2022.4

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์, การจัดบริการที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นศูนย์กลาง, จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

           การจัดระบบบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลชุมชน เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในจังหวัดที่มีภาระผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงเช่นจังหวัดนครราชสีมาของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดบริการที่มีผู้เติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ เป็นศูนย์กลางเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยศึกษาในกลุ่มผู้ให้บริการและผู้ติดเชื้อเอชไอวี จากโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7 แห่งในจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงกันยายน 2563 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ทีมผู้บริหาร 10 คน ทีมผู้ให้บริการ 20 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 40 คน มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณระดับปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม และระดับทุติยภูมิโดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติ (NAP) และมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากทีมสหวิชาชีพในการจัดบริการในโรงพยาบาล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและไม่ระบุตัวตน รวมถึงข้อมูลจากการประชุมถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ เทคนิคการจัดหมวดหมู่ การตีความและสร้างข้อสรุปเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

          ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดบริการที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ เป็นศูนย์กลางมีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ 1) ศึกษาปัญหาและพัฒนาโครงการพัฒนาระบบการจัดบริการที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นศูนย์กลาง 2) เพิ่มศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัดเพื่อช่วยให้คำปรึกษาในการดำเนินงานฯ อบรมพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพในการดูแลรักษา และบริการปรึกษา 3) หน่วยบริการเป้าหมายดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการตามสถานการณ์บริบทแต่ละพื้นที่ ปรับปรุงระบบการใช้ข้อมูลเอดส์ และประเมินผล 4) ถอดบทเรียนการดำเนินงาน ด้านผลลัพธ์จากการพัฒนาระบบการจัดบริการ สามารถให้บริการครอบคลุมตามเป้าหมายส่งผลให้ความสมํ่าเสมอในการรับประทานยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 94.15 และสามารถกดเชื้อไวรัสเอชไอวีให้ < 1,000 copies/ml ได้ ร้อยละ 96.67 โดยมีการตรวจปริมาณไวรัส (Viral load) ได้ ร้อยละ 85.00

          การใช้กระบวนการเครือข่ายแลกเปลี่ยนกิจกรรมหลักพัฒนาคุณภาพการจัดบริการที่มีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ส่งผลให้มีการใช้ข้อมูลในการพัฒนาบริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดีขึ้น ควรมีการพัฒนาโครงสร้างระบบบริการ การพัฒนาแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นศูนย์กลางครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม กาย และจิตใจ ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

 

 

References

HIV INFO HUB. Response [Internet]. Nonthaburi: Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control; 2019. [cited 2019 Aug 1]. Available form: https://hivhub.ddc.moph.go.th/response.php. (in Thai)

UNAIDS. UNAIDS DATA 2018. [Internet] 2018 [cited 2020 June 13]. Available form: https://www.unaids.org/sites/default/files/media_asset/unaids-data-2018_en.pdf.

Stephen Kemmis, Robin Mc Taggarto. The action research planner. 3rd edition. Victoria: Deakin University press; 1990.

Yothin Sawangdee, Pimonpan Isarabhakdi, Malee Sanpuwan. Problems and sufferings Experienced by Patients Obtaining Services at Health Care Facility. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2000. (in Thai)

Suchada Taweesit, Sureeporn Punpueng. Understanding and accessing the worldview of sexuality of people with HIV with a gender perspective. In: Krittaya Archavanitkul, Kanchana Tangcholathip, Editors. Population and Society 2008: Gender Dimensions in Population and Society. Nakhon Pathom: Population and Society Publishing House. 2008. p.180-193. (in Thai)

Nareelux Suwanobol, Srikiat Anansawat, Ratchadapon Jai-ai. Success Factors and Barriers to Develop the Caring System for People Living with HIV and AIDS. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2016; 17(1): 70-78. (in Thai)

Thidaporn Jirawattanapisal. Antiretroviral Treatment Service Delivery and Roles of Human Resource for Health in Different Levels of Care. Thai AIDS Journal. 2017; 29(1): 1-9. (in Thai)

Srisak Tangjittham, Boonma Soontrawirat. Mutual assistance of HIV/AIDS patients through group process Thali Hospital. Journal of the Office of Disease Prevention and Control No. 6th, Khon Kaen. 2007; 15(2): 124-30. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21