การประเมินรูปแบบการดูแล รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ของภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/taj.2019.7คำสำคัญ:
ระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์บทคัดย่อ
การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์จะต้องดูแลครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม การพัฒนาระบบให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจะต้องประเมินสถานะของระบบเดิมว่ามีความครอบคลุม ได้ผลลัพธ์มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมายเชิงระบบหรือไม่การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการมาอย่างยาวนานครอบคลุมทั้งชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลบุญฑริก แต่ยังขาดการประเมิน ดังนั้นการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบดังกล่าว กลุ่มที่ทำการศึกษาคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลบุณฑริก เป็นเครือข่ายบริการสุขภาพและผู้ดูแล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 52 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่างตุลาคม พ.ศ.2559 ถึง กันยายน พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ของเครือข่ายบริการสุขภาพดำเนินการได้ครอบคลุมเป็นองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม โดยมีกระบวนการดังนี้ (1) มีทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุข ปกครอง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโครงสร้างและการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน (2) จัดรูปการให้บริการผู้ป่วยแบบ One Stop Service (3) มีกิจกรรมส่งเสริมการดูแลตนเองและการสนับสนุนทางสังคม (4) มีการดูแลแบบครบถ้วนทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมการรักษา การป้องกัน และการฟื้นฟู (5) ส่งเสริมการดูแลแบบทางเลือก (6) มีการสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วย (7) มีการพัฒนารูปแบบจัดเก็บข้อมูล และ (8) มีการประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและทัศนคติ ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินงานดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์อยู่ในระดับมาก ดังนั้นควรสนับสนุนทีมสหวิชาชีพในการดำเนินงานการดูแลสุขภาพและจิตใจเป็นหลักและเชื่อมโยงเครือข่ายในชุมชน ส่วนด้านเศรษฐกิจและสังคมควรเชื่อมโยงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ต่อเนื่องReferences
ประพันธ์ ภานุภาค. โรคเอดส์และการดำเนินของโรค. กรุงเทพมหานคร: สภากาชาดไทย; 2549.
ภารดี นานาศิลป์, พรรณวดี ตันติศิรินทร์. ความเครียด การเผชิญความเครียดและการดูแลจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์. ขอนแก่น:ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทยปี 2557. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
วงศา เลาหศิริวงศ์, ภัทระ แสนไชยสุริยา, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ, เจียมจิต แสงสุวรรณ, ธีระ ฤทธิรอด, ภพโกศลารักษ์ และคณะ. การศึกษาระบบและปัญหาในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเมื่อกลับสู่บ้าน. วารสารวิจัย มข. 2548., 10 (3), 250-263.
บุษยามาส ชีวสกุลยง, อารีวรรณ สมหวังประเสริฐ, สุรินทร์ จิรนิรามัย, เบญจลักษณ์ มณีทอน, ธนินนิตย์ ลีรพันธ์, ชนัญญา มหาพรหม,และคณะ. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง Palliative care. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: บริษัทกลางเวียง การพิมพ์; 2556.
พูลสินธุ์ พงษ์ประเทศ. การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยเทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
วงศา เลาหศิริวงศ์, ภัทระ แสนไชยสุริยา, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ, เจียมจิต แสงสุวรรณ, ธีระ ฤทธิรอด, ภพโกศลารักษ์ และคณะ.รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์: สภาพการณ์ปัจจุบัน. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552. (อัดสำเนา)
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, สุจินดา สุขกำเนิด, แสงเทียน อัจจิมางกูร, ศิรินทร์ภรณ์ อัจจิมางกูร, กมลาภรณ์ คงสุขวิวัฒน์, ปารณัฐ สุขสุทธิ์,และคณะ. อาสาสมัครสาธารณสุขจิตอาสากับสุขภาวะไทย. นนทบุรี: มีดี กราฟฟิค; 2550.
ศรีศักดิ์ ตั้งจิตธรรม, บุญมา สุนทราวิรัตน์. การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ด้วยกระบวนการกลุ่มโรงพยาบาลท่าลี่. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2550; 15(2): 124-30.