ความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลตาคลี นครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • เจตนิพัทธ์ มิดขุนทด โรงพยาบาลตาคลี นครสวรรค์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความตระหนักรู้เรื่องโรค, โรคเอดส์, ความรอบรู้ด้านการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความรู้เรื่องโรคและศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีภายในคลินิกศูนย์รวมใจ โรงพยาบาลตาคลี ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูล จากผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับบริการ จำนวนทั้งสิ้น 324 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์และใช้สถิติ Spearman Rank Correlation และ Chi-square test เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ คือ ปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย (p-value = 0.03, r = 0.120) กล่าวคือ ความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการควบคุมปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย           ผลการศึกษาเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ครั้งนี้ ทำให้ทีมงานด้านโรคเอดส์ทราบถึงผลของการให้สุขศึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษาภายในคลินิกศูนย์รวมใจ อีกทั้งยังช่วยให้ทีมงานด้านโรคเอดส์มีข้อมูลสำหรับออกแบบโปรแกรมสุขศึกษาที่เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลตาคลี โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์มีความรู้ในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม      

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Number of people (all ages) living with HIV Estimates by WHO region. [Internet]. [cited 2019 Aug 1]. Available from http://apps.who.int/gho/data/view.main.22100WHO?lang=en

World Health Organization. Global Health Observatory data repository. [Internet]. [cited 2019 Aug 1]. Available from http://apps.who.int/gho/data/view.main.HIVINCIDENCEREGIONv?lang=en

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 ก.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/1759

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2560.

ชนัญญา คุ้มครอง, วันทนา มณีศรีวงศ์กุล, พูลสุข เจนพานิชย์. ความสัมพันธ์ของความรู้เท่าทันทางด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารเกื้อการุณ. 2557;21(2):211-228.

Weidle, P.J., Wamai, N., Solberg, P., Liechty, C., Sendagala, S., Were, W., et al. Adherence to antiretroviral therapy in a home-based AIDS care programme in rural Uganda. [Internet]. [cited 2019 Sep 10]. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17084759

วิไล ชินเวชกิจวานิชย์, กัลยา ซาพวง, ณัฐวรรณ ดีเลิศยืนยง. การสำรวจความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีที่เป็นสมาชิกของชมรมผู้ติดเชื้อฯในจังหวัดราชบุรี. วารสารโรคเอดส์. 2555/2556; 25(1):41-50.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. ชุดความรู้การดูแลรักษาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ผ่านกระบวนการเรียนรู้โรคโดยตรง (HIV/AIDS treatment literacy). [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2561] แหล่งข้อมูล http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook/form/32.

Bloom.B.S. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment.1(2) Losangeles. University of California at Los Angeles; 1968.

นงลักษณ์ เกษม. โรคติดเชื้อฉวยโอกาสและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวซีดี 4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในจังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

ทินมณี ทิพย์ปัญญา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัสกับความมีวินัยในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอดส์จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

มัลลิกา มัติโก, นิตยา เพ็ญศิรินภา. แบบแผนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทางการแพทย์หน่วยที่ 1-5 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-17