การสื่อสารที่ส่งผลต่อการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์: ภาพตัวแทน และความหมายต่อคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) อาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.8

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ความหมาย, ภาพตัวแทน, การตีตรา, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยเอดส์, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

          การสื่อสารผ่านการถูกตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ อันเนื่องมาจากการมีพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่างไปจากสังคมกระแสหลัก โดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยทำให้การเปิดเผยผลการติดเชื้อมีสภาพเปรียบเสมือนการติดป้ายบนตัวของผู้ติดเชื้อ การติดป้ายโดยการสื่อสารผ่านการตีตราเช่นนี้เป็นการสร้างตราบาป เปลี่ยนผู้ติดเชื้อจากบุคคลปกติธรรมดา เป็นบุคคลผิดปกติ การสื่อสารผ่านการตีตรา จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดความรู้สึกที่ฝังแน่นภายในจิตใจ โดยไม่รู้ตัว เป็นความรู้สึกด้านลบที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและจิตวิญญาณ และอาจนำไปสู่พฤติกรรมการฆ่าตัวตายได้ การสื่อสารผ่านวาทกรรมหรือบทสนทนา เพื่อสร้างให้เกิดการจดจำความหมายและภาพตัวแทนของโรคเอดส์ยุคใหม่ ซึ่งภาพตัวแทนของโรคเอดส์ยุคใหม่นี้ ครอบคลุมถึงผู้ป่วยเอดส์รุ่นใหม่ที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง ที่ส่งผลแตกต่างระหว่างการแพร่ หรือไม่แพร่เชื้อผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัสเป็นประจำโดยไม่ขาดยา จนตรวจปริมาณไวรัสไม่พบ จะไม่มีโอกาสแพร่เชื้อเลย (Undetectable = Untransmittable, U=U) ถึงแม้จะมีเชื้อเอชไอวีในร่างกายก็ตาม ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีคุณค่าและมีความสุขในชีวิตได้เฉกเช่นกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-21