อัตราความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชน จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, กระทรวงสาธารณสุข
  • สุกัญญา คำพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, กระทรวงสาธารณสุข
  • ปิญชาน์ ปรัชญคุปต์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.9

คำสำคัญ:

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, เยาวชน, ยโสธร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชน เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง จำนวนตัวอย่าง 1,223 คน อายุ 15-17 ปี จัดเก็บข้อมูลโดยใช้สมาร์ทโฟนระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเยาวชนในการศึกษามีประวัติเคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 31.8 ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคู่นอน ในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 45.3 มีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 6.3 (95%CI; 5.0-7.8) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ (1) เคยมีเพศสัมพันธ์กับแฟนในรอบปีที่ผ่านมา (adjusted OR 2.2, 95%CI; 1.2-4.0) (2) เคยมีเพศสัมพันธ์กับพนักงานบริการทางเพศ (adjusted OR 6.7, 95% CI; 2.9-15.3) และ (3) การรับรู้ความเสี่ยงว่าตนเองเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (adjusted OR 2.0, 95%CI; 1.2-3.2) ผลการศึกษาสะท้อนว่า อัตราความชุกของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชนอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การใช้ถุงยางอนามัยยังอยู่ในระดับต่ำ บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามากำหนดเป็นประเด็นรณรงค์เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงถุงยางอนามัยและการใช้ถุงยางอนามัยอย่างต่อเนื่อง

References

1. กองระบาดวิทยา รายงานการเฝ้าระวังโรค. สถานการณ์โรคหนองใน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2562 [สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php
2. กล่มุ งานควบคมุ โรคตดิ ต่อ สำนักงานสาธารณสขุ จงั หวดั ยโสธร. ผลการดำเนินงานเอดส์และโรคตดิ ต่อทางเพศสัมพันธ์ จังหวัดยโสธร รอบ 1/2562. เสนอที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่)
3. กองโรคเอดส์. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2562 [สืบค้นเมื่อ 4 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/download/2005
4. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, สุปิยา จันทรมณี, สุรสักย์ ธไนศวรรยางค์กูร, กีรติกานต์ กลัดสวัสดิ์, สุภาภรต์ จียะพันธ์, ธรีรัตน์ เชมนะสิร และคณะ. แนวทางการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มนักเรียนโดยใช้สมาร์ทโฟน ตุลาคม 2559 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง), พิมพ์ครั้งที่ 2, นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: 2559.
5. เฉวตสรร นามวาท และสุปิยา จันทรมณี. ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มนักเรียน ประเทศไทย พ.ศ. 2554. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
6. Cochran, W.G. Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York; 1977.
7. Hosmer DW, Lemeshow S. Applied logistic regression. 2nded. New York: John Wiley & Sons; 2000.
8. สุปิยา จันทรมณี และฐิติพงษ์ ยิ่งยง. รายงานผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มนักเรียน ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2562 [สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/aids/Downloads/book/2560/รายงานผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี.pdf
9. ไพโรจน์ จันทรมณี และสุปิยา จันทรมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมเสี่ยง ที่สัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มสาวประเภทสอง ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2559; 47: 33–41.
10. ถนอม นามวงศ์. การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีกับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย. วารสารโรคเอดส์. 2561; 30(3): 147-153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-21