ผลการใช้โปรแกรมลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • นาวา ผานะวงค์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.10

คำสำคัญ:

ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาและนำวิธีการแก้ไขปัญหาไปใช้ในการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเอชไอวี การดำเนินการวิจัยดำเนินการในช่วง มีนาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2562 แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) โดยการศึกษาสภาพปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ด้วยการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการให้บริการ จำนวน 205 คน และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่รับบริการในคลินิก ARV โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Smart Phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น วิเคราะห์ ความถี่และร้อยละ ผ่านโปรแกรม Redcap ระยะที่ 2 ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติโดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมสถานบริการสุขภาพปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการให้บริการ ในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 205 คน ระยะที่ 3 นำไปใช้ในการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยน ผลจากกิจกรรมที่ 4-5 ไปปรับปรุงงานสู่การปฏิบัติการนำเสนอรายงานฉบับนี้ เป็นการนำเสนอผลการวิจัยในระยะที่ 1, 2, การวางแผนและการดำเนินงานช่วงต้นในระยะที่ 3 ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า เจ้าหน้าที่มีสัดส่วนผู้ที่กังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีจากการให้บริการ ร้อยละ 61.64 สัดส่วนผู้ที่มีทัศนคติเชิงลบ ร้อยละ 87.86 สัดส่วนการป้องกันตัวเองมากกว่าปกติระหว่างการให้บริการ ร้อยละ 66.14 และสัดส่วนการสังเกตเหน็ การเลือกปฏิบัติระหว่างการให้บริการ ร้อยละ 20.51 ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับบริการในคลินิก ARV ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จากข้อคำถามที่ว่ามีเหตุการณ์ต่อไปนี้ เกิดขึ้นกับท่านเพราะว่าท่านเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (เกิดขึ้นที่สถานบริการสุขภาพ/โรงพยาบาลใดก็ตาม) พบว่า สัดส่วนการเคยมีประสบการณ์เคยถูกเลือกปฏิบัติ ระหว่างการรับบริการ ร้อยละ 22.58 สัดส่วนการเคยตัดสินใจไม่ไปสถานบริการสุขภาพ/โรงพยาบาล เนื่องจากการตีตราตนเอง ร้อยละ 37.10 สัดส่วนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่เคยถูกเปิดเผยสถานภาพความลับ ร้อยละ 17.21 สัดส่วนเคยถูกตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการมีบุตรและอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละ 7.56 ผลการศึกษาระยะที่ 2 และระยะที่ 3 พบว่า จากการนำโปรแกรมการส่งเสริมสถานบริการสุขภาพปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติในหน่วยบริการมาใช้ในการอบรมเจ้าหน้าที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความรู้สึกว่าถ้าเหตุการณ์เกิดกับตนเองคงไม่พึงพอใจและรู้สึกด้อยค่า อาจมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการ และองค์กรอาจถูกร้องเรียน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางแก้ไขร่วมกัน จัดให้มีการสื่อสารนโยบายในการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ จัดการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากโดยมีแนวทางและข้อตกลงร่วมกัน นำเข้าสู่วาระการประชุมของทีมนำคุณภาพโรงพยาบาลเพื่อลงมติรับรองออกแนวทางปฏิบัติ ส่วนประเด็นที่ต้องใช้งบประมาณในการแก้ไขระยะยาวได้บรรจุในแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2563

References

1. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็นซี คอนเซปต์ จำกัด; 2560.
2. อภิญญา เปี่ยมวัฒนาทรัพย์, ยศภัทร เสาวภาคลิมป์กุล, ประไพพิศ วิวัฒน์วานิช, คณะ Matrix SAIL. สถานการณ์การตีตราและการเลือกปฏิบัติประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี/เอดส์ในสถานบริการสุขภาพ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ ปีงบประมาณ 2558. [อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี; 2558. [สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://223.27.246.196/aca/attachments/article/58/stigmatize.pdf.
3. สุรัตน์ดา มอโท, ดวงใจ นุ่นสวัสดิ์. การพัฒนาคลินิก HIV คลินิกพิเศษ โรงพยาบาลไชยวาน ปี 2555. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 6 ธ.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: 203.157.168.41/fish_roop/web/r2r/index.php?aa=4&bc=1& id_vigai=.
4. โรงพยาบาลอากาศอำนวย. สรุปผลงานเอดส์ ยาเสพติดและจิตเวชประจำปี 2561. เอกสารเย็บเล่ม; 2561.
5. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. คู่มือการจัดอบรมหลักสูตรการส่งเสริมสถานบริการสุขภาพปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2561.
6. นิฮาฟีซา หะยีวาเงาะ. ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และการตีตราทางสังคม: กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
7. นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล, ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์, รัชดาภรณ์ ใจอ้าย. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. วารสารพยาบาลทหารบก 2529; 1: 70-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-21