ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • รัตติยา สองทิศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง, กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.11

คำสำคัญ:

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดตรัง จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2561 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 18 - 32 ปี (ร้อยละ 59.1) อายุเฉลี่ย 37 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 13,807.09 บาท ผลการศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่าการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับสูง การรับรู้ อุปสรรคในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี อยู่ในระดับสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ความรุนแรงในการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับต่ำ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับ ปานกลาง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ และ รายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ -0.165, (p=0.064) และ -0.133 (p=0.135) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.191, (p=0.032) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.4) มีการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในระดับสูง โดยที่ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การรับรู้ประโยชน์ด้านการรับประทานยาป้องกันโรคเอดส์ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้

          การดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดตรัง ให้ลดการติดเชื้อรายใหม่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ความสำคัญกับการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การส่งเสริมการเข้าถึงยาป้องกันก่อนมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะทำงานการคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี. สถานการณ์เอชไอวีและเอดส์ พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. (สืบค้นเมื่อ วันที่ 19 มี.ค. 2561). แหล่งข้อมูลhttp://aidssti.ddc.moph.go.th/report/view.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานวิจัยด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2562-2564. กรุงเทพฯ; 2562.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้บริการเพื่อเริ่มยาต้านไวรัสในทุกระดับ CD4. กรุงเทพฯ:สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ; 2557.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การติดประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี ; 2561.

ศาลิพร จรัสโชค. สถานการณ์โรคเอดส์ จังหวัดตรัง ปี 2561. ใน: ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนกลไก การประสานงานป้องกันและ

แก้ไขปัญหาเอดส์และวัณโรค ปี 2561; ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. ตรัง; 2561. หน้า 3 - 4.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. มาตรฐานศูนย์บริการชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร. บริษัท บอร์น ทู บี

พับลิชซิ่ง จำกัด ; 2558.

Best JW. Research in education.3 ed1977.

Himkle, D.E, William,W. and Stephen G.J. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4thed. New York : Houghton Mifflin, 1998.

ปรีชา สร้อยสน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยะเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ต้องขังชาย เรือนจำ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554. 5 หน้า.

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย [วิทยานิพนธ์ปริญญา

ดุษฎีบัณฑิตพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม]. กรุงเทพ ฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554. 6 หน้า.

นันทิดา ศรีจันทร์, สายหยุด มูลเพชร, สามารถ ใจเตี้ย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชฏัชเชียงใหม่; 2560. 17 หน้า.

กรรณิการ์ มังกโรทัย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงาน

คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตด้านพัฒนาสังคม]. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโรคเอดส์ของชายไทยในหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

วิภาพร เตชะสรพัศ. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในสามีหญิงตั้งครรภ์. [วิทยานิพนธ์ศึกษา

ศาสตรมหาบัณฑิต]; 2556.

พรรณธนัฐ โปฎก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพทางเพศและการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรคเอดส์. 2559; 29(1): 37-50.

หริสร์ ทวีพัฒนา. ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัย

เอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 2552; ฉบับที่ 1: 131-145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-21