การพัฒนาระบบส่งยาต้านไวรัสเอชไอวีในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/taj.2024.5คำสำคัญ:
ยาต้านไวรัสเอชไอวี, เอชไอวี/เอดส์, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีบทคัดย่อ
ประเทศไทยโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มต้นจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นมา โดยให้การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ฟรีทุกราย การบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นบทบาทสำคัญ แต่เริ่มแรกดำเนินโครงการจัดส่งยาฯ โดยกรมควบคุมโรคเป็นผู้บริหารจัดการจัดหายาส่งไปที่คลังสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตที่ 1-12 และกองควบคุมโรคเอดส์ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีปริมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้นและต้องรับประทานยาต่อเนื่องตลอดชีวิตทำให้เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นกับผู้จัดส่งยาทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในระดับเขตโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตเป็นผู้จัดส่งนั้น กรมควบคุมโรคจึงได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีคู่ขนานเพื่อบริหารจัดการยาที่ผลิตและจำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรมด้วยระบบการส่งยาตรงจากผู้ผลิต/ผู้ขายถึงโรงพยาบาล โดยผู้ผลิต/ผู้ขายเป็นผู้บริหารระบบ เรียกว่า vendor managed inventory system (VMI) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นระบบนำร่องก่อนที่จะใช้กับยาชนิดอื่นๆ ตามมา โดยโรงพยาบาลรายงานปริมาณยาเข้าสู่ระบบ VMI ผ่านระบบออนไลน์ทุกเดือนและเมื่อระดับยาอยู่ในระดับที่ตกลงกับกรมควบคุมโรคและองค์การเภสัชกรรมว่าเป็นระดับยาต่ำสุด องค์การเภสัชกรรมจึงส่งยาเติมเต็มให้ถึงระดับปลอดภัย (ที่ตกลงกันไว้) ภายใน 7 วันทำการ ส่วนยาที่จำหน่าย/นำเข้าจากต่างประเทศจากบริษัทยาอื่น ๆ ใช้การบริหารด้วยระบบจากส่วนกลางไปสู่เขตและโรงพยาบาล การใช้ระบบการบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีทั้ง 2 ระบบ ควบคู่กันนี้ทำหน้าที่เสริมกันเพื่อให้การบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีของประเทศไทยมียาถึงโรงพยาบาลให้บริการแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ไม่ขาดการรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
Downloads
References
Bureau of AIDS, TB and STIs, Department of Disease Control. Official document of Bureau of AIDS, TB and STIs, issue number PH 0424.4/7/2119 date 14th May, 2004. Approval for drug stock management and development of Antiretroviral project; 2004. (in Thai)
Bureau of AIDS, TB and STIs, Department of Disease Control. Official document of Bureau of AIDS, TB and STIs, issue number PH 00424.4/7/4786 date 2nd November, 2004. Approval for drug stock management with VMI system; 2004. (in Thai)
Bureau of AIDS, TB and STIs, Department of Disease Control. Official document of Bureau of AIDS, TB and STIs, issue number PH 0424.4/4042 date 22nd November, 2005. Approval for a training of drug stock management with VMI system: new VMI system; 2005. (in Thai)
Government Pharmaceutical Organizations (GPO). Official document of GPO issue number PH 5100/263 date 28th February, 2006. Supported budget for a training of drug stock management with VMI system: new VMI system; 2006. (in Thai)
Bureau of AIDS, TB and STIs, Department of Disease Control. Official document of Bureau of AIDS, TB and STIs date 23th March, 2006. A letter of authorization to receive financial support from the Government Pharmaceutical Organization, dated March 23, 2006. (in Thai)
Government Pharmaceutical Organizations (GPO). Official document of GPO issue number PH 0424.1/4401 date 26th October, 2003. Submission of a fiscal yearly plan of antiretroviral drugs procurement, 2004. (in Thai)
Jirawattanapisal T. Antiretroviral drug stock management. Bangkok: Printing House of the Agricultural Co-operative Federation of Thailand; 2005. (in Thai)
The Government Pharmaceutical Organization. Pharmaceutical Organization VMI. [Cited 2023 Jun 18]. Available from: https://scm.gpo.or.th/vmi_next (in Thai)