ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในการลดการตีตราตนเองในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จิรัฐติกาล สุตวณิชย์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
  • นิอร อริโยทัย กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • นาวา ผานะวงศ์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2023.11

คำสำคัญ:

โปรแกรมลดการตีตราตนเอง, การตีตราและเลือกปฏิบัติ, ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมลดการตีตราตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีของโรงพยาบาลอากาศอำนวย ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565-พฤษภาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่รับบริการในคลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้มีเชื้อเอชไอวี และโปรแกรมลดการตีตราตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี รวบรวมข้อมูลจากบันทึกการจัดกิจกรรมกลุ่ม บันทึกการติดตามเยี่ยมรายบุคคล การสังเกตแนวคิดและทักษะการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกประเภท วิเคราะห์แบบอุปนัย ตีความหมาย สร้างข้อสรุป และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า paired t-test ผลการศึกษาพบว่า เมื่อประเมินการตีตราตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้รับบริการมีการ ตีตราตนเองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <0.0001 โดยการเข้าร่วมทั้ง 3 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ผลกระทบการตีตราให้ความหมายการตีตรา คือ การถูกกำหนดว่าไม่ดี ด้อยค่า ไม่เท่าคนอื่น เป็นที่รังเกียจ ความกลัวการตีตราเป็นอุปสรรคสำคัญในการเปิดเผยตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อลดปัญหาการตีตราผู้ป่วยด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยความคิดเชิงบวก กิจกรรมที่ 2 กลุ่มตัวอย่างบอกเคยมีประสบการณ์เมื่อเจอปัญหา สามารถบอกวิธีแก้ปัญหาให้เพื่อนๆ ฟังได้ แต่มีบางปัญหาที่แก้ไม่ได้หรือแก้แล้วยังไม่ดีพอ เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ตารางชั่งน้ำหนักทำให้ได้แนวทางคลี่คลายปัญหา กิจกรรมที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้บอกสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ชอบที่มีในตัวเอง ผู้วิจัยได้สะท้อนความคิด ความรู้สึก และคะแนนการตีตราตนเองจากกิจกรรมที่ผ่านมา แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี นำข้อดีในตนเองที่ตอบไว้ในบัตรคำมาตั้งคำถามว่าการติดเชื้อเอชไอวีทำให้ความเป็นคนดี ความดีและคุณค่าในตัวเองของเขายังอยู่ การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีไม่ได้ทำลายข้อดีในตัวตนของเขาได้

References

National AIDS Committee. Thailand national strategy to end AIDS 2017 - 2030. Bangkok: NC-Concept; 2017. (in Thai)

Bangkokbiznews. Thailand announces to end the “AIDS” problem in 2030, no death, no stigma [Internet]. Thailand: Bangkokbiznews; 2022 [cited 2022 May 31]. Available from: https://www. bangkokbiznews.com/social/975364 (in Thai)

National Center for AIDS Management Department of Disease Control. Guide to surveying stigma and related discrimination with HIV in health facilities “among people living with HIV”. Nonthaburi: Six One Seven; 2015. (in Thai)

Raksakom H, Khemngern P, Khonsue N, Editors. Performance according to the action plan for the prevention and solution of AIDS and sexually transmitted diseases. Nonthaburi: Division of AIDS and STIs; 2020. (in Thai)

Phanaworng N. The Results of stigma and discrimination against HIV infected people reduction program in Akat Amnauy Hospital, Sakon Nakhon Province, 2019. Thai AIDS Journal. 2019;31(3):125-41. (in Thai)

Suktrakul S, Uthis P. The effects of self-stigma program in drug used persons. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2018;19(Suppl.1):364-72. (in Thai)

Division of AIDS and sexually transmitted diseases. Manual for reducing self-stigmatization of clients in health facilities. Nonthaburi: Division of AIDS and sexually transmitted diseases; 2022. (in Thai)

National AIDS Committee. A guide to stigma and discrimination related to HIV in healthcare facilities in Thailand. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)

Suktrakul S, Palamat P, Duangmala P. Evaluation of self-stigma reduction program activities among people with HIV and drug addicts, Chiang Dao Hospital Chiang Mai Province, Chana Hospital Songkhla Province, Nong Yai Hospital Chonburi. Bangkok: Book Plus Press; 2020. (in Thai)

Namkaew B, Nawsuwan K. Experience of stigmatization of people with HIV and good practice among people with HIV to reduce self-stigma when coming to the hospital. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Surin. 2021;11(2):17-31. (in Thai)

Chambers LA, Rueda S, Baker DN, Wilson MG, Deutsch R, Raeifar E, et.al. Stigma, HIV and health: a qualitative synthesis. BMC Public Health [Internet]. 2015 [cited 2022 Sep 3];15:848. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26334626/

Hanmon R, Kasapibal N, Chitreechuer V. Effects of self-management enhancement on antiretroviral drug adherence and risk behaviors among people living with HIV/AIDS. Nursing Journal CMU. 2013;40(3):40-9. (in Thai)

Pumput P, Phooriwitthayatheera K. The role of nurses in promoting the ability to care for patients with schizophreniaby reducing perception of stigma. Thai Journal of Public Health and Health Sciences. 2021;4(3):215-24. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30