แนวทางการผลักดันยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่เข้าสู่ประเทศไทยและชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ลาวัณย์ สันติชินกุล กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2023.15

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนยาทีแอลดี, สูตรยาหลักโดลูเทกราเวียร์, สูตรยาหลักอีฟาเวอเรนซ์, ชุดสิทธิประโยชน์

บทคัดย่อ

การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ปัจจุบันรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีซึ่งต้องรับประทานต่อเนื่องตลอดชีวิตแต่เนื่องจากยาต้านเอชไอวีสูตรปัจจุบันก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นจำนวนมาก เช่น ประสาทหลอน วิตกกังวล นอนไม่หลับ ส่งผลต่อการรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง และกดเชื้อไวรัสไม่สำเร็จ องค์การอนามัยโลกแนะนำยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ที่มีอาการข้างเคียงน้อย การกดปริมาณไวรัสมีประสิทธิภาพดี และพบอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาต่ำ แต่ยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ที่แนะนำนี้ ในประเทศไทยมีจำหน่ายเพียงบริษัทเดียว และยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย รวมถึงยังไม่เข้าชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพต่างๆ ส่งผลให้หน่วยบริการยังไม่มีการปรับเปลี่ยนสูตรยา ดังนั้นรายงานผลการปฏิบัติงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปแนวทางการบริหารจัดการผลักดันยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่เข้าสู่ประเทศไทยและชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ได้แก่ (1) แนวทางการดำเนินงานผลักดันยาต้านเอชไอวีเข้าสู่ประเทศไทยและชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพ จากการประชุมคณะทำงาน (2) ข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายเก่าและรายใหม่ได้รับยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ จากระบบสารสนเทศการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติ และ (3) ข้อมูลปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน จากการประชุมติดตามความก้าวหน้า และจากการรายงานโดยบุคลากรโรงพยาบาลต่างๆ ของประเทศไทยผ่านกลุ่มแอพพลิเคชันไลน์ที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ จากการดำเนินงานส่งผลให้สามารถผลักดันยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ขึ้นทะเบียนเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติและอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพในปี พ.ศ. 2564 และผลการปรับเปลี่ยนยาสูตรใหม่ของประเทศไทย พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 พบว่า ข้อมูลการปรับเปลี่ยนสูตรยาจากสูตรเดิม efavirenz-based (EFV-based) ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายเก่า เป็นสูตรยาใหม่ dolutegravir-based (DTG-based) ร้อยละ 54.4 และร้อยละ 75.5 ตามลำดับ ส่วนในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีการเริ่มใช้สูตรยา DTG-based ได้ร้อยละ 89.9 และร้อยละ 94.3 ตามลำดับ และปัญหาหลักที่พบ ได้แก่ กระบวนการจัดซื้อจัดหายาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ให้แก่หน่วยบริการ จัดหาได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จัดหายาต้านเอชไอวีไม่สอดคล้องกับแผนการจัดซื้อยา และการจัดซื้อใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และองค์การเภสัชกรรม ควรมีการประเมินความต้องการใช้ยาสูตรใหม่ วางแผนการจัดซื้อหายาให้เพียงพอ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

References

Watson S. The history of HIV treatment: antiretroviral therapy and more [Internet]. New York: WebMD; 2022 [cited 2023 Jun 10]. Available from: https://www.webmd.com/hiv-aids/hiv-treatment-history

Costa B, Vale N. Efavirenz: history, development and future. Biomolecules. 2022;13(1):88.

World Health Organization. Update on the transition to dolutegravir-based antiretroviral therapy report of a WHO meeting. Geneva: World Health Organization; 2022.

Phillips AN, Bansi-Matharu L, Venter F, Havlir D, Pozniak A, Kuritzkes DR, et al. Updated assessment of risks and benefits of dolutegravir versus efavirenz in new antiretroviral treatment initiators in sub-Saharan Africa: modelling to inform treatment guidelines. Lancet HIV. 2020;7(3):e193-200.

Dugdale CM, Ciaranello AL, Bekker LG, Stern ME, Myer L, Wood R, et al. Risks and benefits of dolutegravir- and efavirenz-based strategies for south african women with HIV of childbearing potential: a modeling study. Ann Intern Med. 2019;170(9):614-25.

Mellgren A, Eriksson LE, Reinius M, Marrone G, Svedhem V. Longitudinal trends and determinants of patient-reported side effects on ART-a Swedish National Registry study. PLoS One. 2020; 15(12):e0242710.

World Health Organization. Transition to new antiretroviral drugs in HIV programmes: clinical and programmatic considerations [Internet]. 2017 [cited 2020 Aug 25]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/255887/WHO-HIV-2017.23-eng.pdf?sequence=1

United States Agency International Development. The dolutegravir opportunity frequently asked questions [Internet]. 2017 [cited 2020 Aug 25]. Available from: https://www.ghsupplychain.org/dolutegravir-opportunity-frequently-asked-questions

Ministry of Public Health, Food and Drug Administration. Spontaneous reports of adverse drug reactions 2020. Nonthaburi: Health Product Vigilance Center; 2020.

Ruxrungtham K, Chokephaibulkit K, Chetchotisakd P, Chariyalertsak S, Kiertburanakul S, Putacharoen O, et al. Thailand national guidelines on HIV/AIDS treatment and prevention 2021/ 2022. Nonthaburi: Aksorn Graphic and Design Publishing; 2022.

Kumdee C, Leelahavarong P, Pantumongkol W, Kittirachakool N, Hadnorntun P, Yadee J, et al. An analysis on access to National List of Essential Medicines category E(2). Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2020. (in Thai)

Health Systems Research Institute. Thai drug system 2020. Nonthaburi: Thanaaroonkarnpim; 2564. (in Thai)

United States Agency International Development. Technical brief: TLD transition [Internet]. 2020 [cited 2020 Aug 25]. Available from: https://www.ghsupplychain.org/tld-transition-technical-brief

Urama B, Anonyuo N, Ibeme A, Owoicho B, Obi C, Atu U, et al. Effects of stakeholder’s management and engagement on the success of fixed dose combination (FDC) tenofovir/lamivudine/dolutegravir (TLD) introduction and transition: Nigeria experience. Public H Open Acc. 2019;3(2):000142.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

ฉบับ

บท

รายงานผลการปฏิบัติงาน