การใช้กระดาษซับเลือดเพื่อตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นในทารกในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิริพรรณ แสงอรุณ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ดนตร์ ช่างสม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เรืองชัย โลเกตุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิโรจน์ พวงทับทิม สถาบันชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • รัชณีกร ใจซื่อ สถาบันชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • รัตน์ระวี บุญเมือง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปรียาพันธ์ แสงอรุณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2023.14

คำสำคัญ:

เชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัส, กระดาษซับเลือด, ทารกติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

การป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ในเด็กทารกด้วยการใช้ยาต้านไวรัส highly active antiretroviral therapy (HAART) เป็นความท้าทายในการตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัส เนื่องจากการได้มาของเลือดเด็กทารกและข้อจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชื้อเอชไอวีที่ดื้อยา วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อพัฒนาและประเมินวิธีตรวจเชื้อดื้อยาที่พัฒนาขึ้นบนกระดาษซับเลือด (dried blood spot, DBS) และเพื่อเฝ้าระวังความชุกของเชื้อดื้อยาในทารกที่พึ่งติดเชื้อเอชไอวี วิธีการศึกษา นำ DBS จากทารกที่เก็บนำส่งในปี พ.ศ. 2557-2560 เพื่อส่งตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีในทารกระยะเริ่มแรก ผลการศึกษา มี DBS ทั้งหมด 12,385 ตัวอย่าง และมีเพียง 111 ตัวอย่างจากเด็กทารก 69 คน ที่ให้ผลบวกต่อการตรวจเอชไอวี และต่อมาได้นำไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสที่จำเพาะต่อยีน protease และยีน reverse transcriptase ความไวสำหรับการตรวจเชื้อเอชไอวีบนกระดาษซับเลือดวิธีนี้ คือ 2.5 copies/ปฏิกิริยา และความจำเพาะคือร้อยละ 100 อัตราความสำเร็จของการตรวจเชื้อดื้อยาบน DBS คือ ร้อยละ 79.3 (111 จาก 140 ตัวอย่าง) โดยไม่คำนึงถึงปริมาณไวรัส ความชุกของเชื้อดื้อยาในเด็กทารกพบร้อยละ 14.4 (10 จาก 69 คน) การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง T215A, T215S และ T215I เป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยและสัมพันธ์กับการดื้อยา zidovudine นอกจากนั้นพบการกลายพันธ์ที่ตำแหน่ง Y181C, K103N และ G190A  ซึ่งสัมพันธ์กับยา non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) สายพันธุ์ของเชื้อเอชไอวีที่พบมากที่สุด คือ CRF01_AE พบร้อยละ 91.9 ข้อจำกัดของการศึกษานี้คือไม่ทราบค่าปริมาณไวรัส ผลการศึกษานี้ให้ความมั่นใจการตรวจเชื้อดื้อยาที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้กับกระดาษซับเลือดเพื่อติดตามเชื้อเอชไอวีดื้อยาในทารกในประเทศไทย การพบเชื้อกลายพันธ์ที่ดื้อต่อยา NRTI และ NNRTI ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ใช้การป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกทั้งในทารกและมารดา การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการตรวจเชื้อดื้อยาในทารกเพื่อให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีประสิทธิภาพมาก

References

World Health Organization. March 2014 supplement to the 2013 consolidated guidelines on the use of antiretroviral drugs for treating and preventing HIV infection: recommendations for a public health approach [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2014 [cite 2015 Jul 4]. Available from: https://iris.who.int/handle/10665/104264

World Health Organization. Consolidated guidelines on HIV prevention, testing, treatment, service delivery and monitoring: recommendations for a public health approach, 2021 update. Geneva: World Health Organization; 2021.

Rottinghaus EK, Ugbena R, Diallo K, Bassey O, Azeez A, Devos J, et al. Dried blood spot specimens are a suitable alternative sample type for HIV-1 viral load measurement and drug resistance genotyping in patients receiving first-line antiretroviral therapy. Clin Infect Dis. 2012;54(8):1187-95.

Monleau M, Aghokeng AF, Eymard-Duvernay S, Dagnra A, Kania D, Ngo-Giang-Huong N, et al. Field evaluation of dried blood spots for routine HIV-1 viral load and drug resistance monitoring in patients receiving antiretroviral therapy in Africa and Asia. J Clin Microbiol. 2014;52(2):578-86.

Lolekha R, Boonsuk S, Plipat T, Martin M, Tonputsa C, Punsuwan N, et al. Elimination of mother-to-child transmission of HIV-Thailand. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2016;65(22): 562-6

Luo W, Yang H, Rathbun K, Pau CP, Ou CY. Detection of human immunodeficiency virus type 1 DNA in dried blood spots by a duplex real-time PCR assay. J Clin Microbiol. 2005;43(4):1851-7.

Albert J, Fenyo EM. Simple, sensitive, and specific detection of human immunodeficiency virus type 1 in clinical specimens by polymerase chain reaction with nested primers. J Clin Microbiol. 1990;28(7):1560-4.

Saeng-Aroon S, Loket R, Plipat T, Lumyai S, Chu PY, Sangkitporn S, et al. Circulation of HIV-1 multiple complexity recombinant forms among female sex workers recently infected with HIV-1 in Thailand. AIDS Res Hum Retroviruses. 2016;32(7):694-701.

Wensing AM, Calvez V, Ceccherini-Silberstein F, Charpentier C, Gunthard HF, Paredes R, et al. 2022 update of the drug resistance mutations in HIV-1. Top Antivir Med. 2022;30(4):559-74.

Sirirungsi W, Khamduang W, Collins IJ, Pusamang A, Leechanachai P, Chaivooth S, et al. Early infant HIV diagnosis and entry to HIV care cascade in Thailand: an observational study. Lancet HIV. 2016;3(6):e259-65.

Shao ER, Kifaro EG, Chilumba IB, Nyombi BM, Moyo S, Gaseitsiwe S, et al. HIV-1 drug mutations in children from northern Tanzania. J Antimicrob Chemother. 2014;69(7):1928-32.

Poppe LK, Chunda-Liyoka C, Kwon EH, Gondwe C, West JT, Kankasa C, et al. HIV drug resistance in infants increases with changing prevention of mother-to-child transmission regimens. AIDS. 2017;31(13):1885-9.

Ruxrungtham K, Chokephaibulkit K, Chetchotisakd P, Chariyalertsak S, Kiertburanakul S, Putacharoen O, et al. Thailand national guidelines on HIV/AIDS treatment and prevention 2021/2022. Nonthaburi: Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control; 2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30