ผลการพัฒนาระบบการป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบซีในเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พิสมัย สุระกาญจน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ณัฐพร ลีนวิภาต สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ปิยธิดา ภูตาไชย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • กชธมน อุทรักษ์ เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ปัญจรัตน์ ปลัดชัย เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2023.12

คำสำคัญ:

ผู้ต้องขัง, ไวรัสตับอักเสบซี, การป้องกันควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดของ Kemmis และ McTaggart มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus, HCV) ในเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้ผู้ต้องขังที่ติดเชื้อได้รับการรักษา ดำเนินการช่วงตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (PAOR) ได้แก่ วางแผน (plan) ปฏิบัติ (act) สังเกตการณ์ (observe) และสะท้อนผลลัพธ์ (reflect) ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผลลัพธ์ รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสรุปประชุม เครือข่ายที่ร่วมพัฒนาประกอบด้วยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาได้ระบบการป้องกันควบคุมโรค HCV ดังนี้ (1) คัดกรองผู้ต้องขังแรกรับด้วยแบบประเมินความเสี่ยงและการเจาะเลือด (2) การป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อ ได้แก่ การให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังทุกคน แยกห้องขังผู้ติดเชื้อ แยกของใช้ส่วนตัว (3) การรักษาผู้ต้องขังที่ติดเชื้อ HCV และป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และ (4) การดูแลส่งต่อและติดตามการรักษาเมื่อพ้นโทษ และผลการดำเนินงานมีการคัดกรอง 3,328 คน (ร้อยละ 100) พบผู้ที่ติดเชื้อ HCV 343 คน (ร้อยละ 10.3) ได้รับการรักษาครบตามแผนการรักษา 59 คน (ร้อยละ 17.2) ติดตามและส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษา 284 คน (ร้อยละ 82.8) การพัฒนาครั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมดำเนินการทุกขั้นตอน และมีการประเมินผล การปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยระบบมีความครอบคลุมในการป้องกันและควบคุมโรค HCV สำหรับผู้ต้องขังตั้งแต่แรกรับจนถึงพ้นโทษ และคืนสู่ชุมชน ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรือนจำอื่นๆ ได้

References

World Health Organization. Hepatitis C [Internet]. Geneva: World Health Organization 2021 [cited 2021 Nov 11]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hepatitis-c

Strategy and Planning Division of Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Public health statistics A.D. 2021. Bangkok: Strategy and Planning Division of Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health; 2021. (in Thai)

Verachai V, Phutiprawan T, Theamboonlers A, Chinchai T, Tanprasert S, Haagmans BL, et al. Prevalence and genotypes of hepatitis C virus infection among drug addicts and blood donors in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2002;33(4):849-51.

Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control. Thailand practice guideline for eliminate hepatitis C. Bangkok: J. S. Printing Group; 2021. (in Thai)

Proungvitaya T, Jantorn S, Suwannathada S, Homchampa P, Proungvitaya S. Incidence of hepatitis B and C virus in new cases of hepatocellular carcinoma patients attending at National Cancer Institute. Arch AHS. 2012;24(3):264-71. (in Thai)

Belaunzaran-Zamudio PF, Mosqueda-Gomez JL, Macias-Hernandez A, Sierra-Madero JG, Ahmed S, Beyrer C. Risk factors for prevalent hepatitis C virus-infection among inmates in a state prison system in Mexico. PLoS ONE. 2017;12(6):e0179931.

Pimsing N, Wasitthankasem R, Treesun K, Poovorawan Y, Posuwan N. Prevalence and risk factors of hepatitis C virus in Phetchabun. Journal of Disease Prevention and Control: DPC. 2 Phitsanulok. 2021;8(3):28-40. (in Thai)

Tanwandee T, Piratvisuth T, Phornphutkul K, Mairiang P, Permpikul P, Poovorawan Y. Risk factors of hepatitis C virus infection in blood donors in Thailand: a multicenter case-control study. J Med Assoc Thail. 2006;89(Suppl 5):S79-83.

Jafari S, Copes R, Baharlou S, Etminan M, Buxton J. Tattooing and the risk of transmission of hepatitis C: a systematic review and meta-analysis. Int J Infect Dis. 2010;14(11):e928-40.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Australia: Deakin University Press; 1988.

Chayathab B. The development of caring pattern for tuberculosis pattern through participation of health volunteers in a Correctional Institution [master’s thesis]. Bangkok: Christian University of Thailand; 2014. 116 p. (in Thai)

Fiore V, De Matteis G, Pontali E, De Vito A, Panese S, Geremia N, et al. Quick diagnosis, staging, and treatment of HCV infection among people living in prison: opinion expert panel. Front Public Health. 2022;10:926414.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30