รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่, ภาคีเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชนและกลุ่มภาคประชาชน จำนวน 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ตำบลโนนสะอาด ประกอบด้วย 12 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เก็บรวบรวมข้อมูล 2) ศึกษาบริบทของกองทุนฯ 3) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับตำบล 5) เลือกรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน 6) นำรูปแบบมาทำแผนปฏิบัติการ 7) ปฏิบัติตามแผน 8) นิเทศติดตาม 9) ประเมินผลผล 10) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานและ 12) สรุปผล ส่งผลให้เกิดรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ โดยมีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ 1) การจัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชน 2) การประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงและต่อเนื่อง 3) การประสานงานที่ดี 4) การจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล 5) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 6) การสร้างภาคีเครือข่าย ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้เกิด กองทุนสุขภาพชุมชน ที่มีกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยชุมชนเอง ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพและชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตำบลโนนสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จรูปแบบของการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลโนนสะอาด คือ การมีกองทุนสุขภาพชุมชน ที่มีองค์ประกอบสำคัญจากแกนนำหมู่บ้านที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่โดยเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมแบบเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2557. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2557.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2553.
ปรีดา แต้อารักษ์ และคณะ.(2558) คู่มือการแปลงธรรมนูญสุขภาพตำบลสู่การปฏิบัติ: บทเรียนการแปลงธรรมนูญสุขภาพไปสู่แผนปฏิบัติ ในพื้นที่ 7 อีสานตอนบน กรณีศึกษาการเชื่อมโยงธรรมนูญสุขภาพสู่การวางแผนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์; 2558.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู.รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2558. หนองบัวลำภู; 2558.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีบุญเรือง.รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2558. หนองบัวลำภู; 2558.
กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตำบลโนนสะอาด. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี งบประมาณ 2560. หนองบัวลำภู; 2560
กิตติ เมอะประโคน. การพัฒนารูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์; 2557. (อินเทอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2561). เข้าถึงได้จาก : http://research.kpru.ac.th/old/Joumal_HSS/images/TGT/2558/pats1/14.pdf.
จิตรกร วิระกา. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม; 2561. (อินเทอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2561). เข้าถึงได้จาก : http://mkho.moph.go.th/research2018/frontend/web/index.php/module/person/functional/report1_1?page=12
สุฎาภรณ์ บุญอาจ. รูปแบบการระดมพลังทางสังคมในกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาล ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์; 2559. (อินเทอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2560). เข้าถึงได้จาก: http://khoon.msu.ac.th/auth/reader/web/index.php?pdf=%2Ffulltextman%2Ffull4%2Fsupaporn10359%2Ftitlepage.pdf&refid.
อัจฉราพร ยาสมุทร และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร; 2560. (อินเทอร์เน็ต), (เข้าถึงเมื่อ12 ธ.ค. 2560). เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/91389/71787.
ณิชนันท์ งามน้อย และพีระพล รัตนะ.(2559) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี; 2559. (อินเทอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ12 ธ.ค. 2560). (เข้าถึงได้จาก): https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/68888/56082.