การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ผาดโผน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็กปฐมวัย, การพัฒนาระบบ, การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 134 คน ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และกลุ่มเด็กปฐมวัย รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล เชื่อมโยงและสร้างข้อสรุปกระบวนการครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ศึกษาบริบทงานและพื้นที่ 2) สร้างภาคีเครือข่ายเฉพาะด้าน 3) การมีส่วนร่วมขององค์กรและประชาชน 4) วางแผนและปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับบริบท 5) กำกับ ติดตาม ประเมินผล 6) การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7) แก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ที่ครอบคลุมมิติของการเฝ้าระวัง การส่งเสริม การคัดกรอง การติดตาม การส่งต่อ และพบว่าเด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น โดยก่อนการพัฒนา เด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 42.18 พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 74.07 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 25.92 และหลังการพัฒนา เด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 94.54 พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 73.07 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 26.92 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ร้อยละ 98.18 และเมื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมพบว่า มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนา โดยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับน้อย (Mean = 1.55, SD = 0.56) หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (Mean = 2.62, SD = 0.49) โดยสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การมีนโยบายในระดับพื้นที่ที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และการบูรณาการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายที่ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

References

องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย. Unicef for Every Child. [ออนไลน์]. 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560]. แหล่งข้อมูลhttps://www.unicef.org/thailand/sites/unicef.org.thailand/files/2018-07/unicef-organization-profile-final-thai.pdf.

นิตยา คชภักดี. Windows of Opportunity หน้าต่างแห่งโอกาส ความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์]. 2557. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2560] แหล่งข้อมูล http://thaichilddevelopment.com/new/2-3-58/

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558. [ออนไลน์]. 2558. ได้จาก: [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2560] แหล่งข้อมูล http://thaichilddevelopment.com

กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp [ออนไลน์]. 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560]. แหล่งข้อมูล https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5

ชยุต ชำนาญเนาว์. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

สุมาลี จรุงจิตตานุสนธิ์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าในจังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Nursing and Health Care 2560; 35(2): 122 – 132.

ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 – 3 ปี โดยครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2559; 11: 99 – 109

กิตติ กรรภิรมย์. การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 0 – 5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารแพทย์เขต 4 – 5 2560 ; 36(4): 305 – 316.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1– 2 ปี. Journal of Nursing and Health Care 2561; 35(4): 176 – 184.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561; 41(1): 95 – 104.

พนิต โล่เสถียรกิจ และคณะ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. [ออนไลน์]. 2558: [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560]. แหล่งข้อมูลhttps://hpc03.files.wordpress.com/2015/09/full-paper-childdev.pdf

ปิยธิดา นาคะเกษียร และยุวดี พงษ์สาระนันทกุล. การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาศักยภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่การเป็นศูนย์เด็กเล็กต้นแบบ กรณีศึกษาพื้นที่ภาค ตะวันออกและภาคตะวันตก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 32(2): 181 – 189.

Syed Usman Hamdani. “Model for Service Delivery for Developmental Disorders in Low-Income Countries”. Pediatrics 2015; 136; 1166 ; originally published online November 23, 2015 ,1166-1172 . DOI: 10.1542/peds.2015-0861

Marian F. Earls, Sherry Shackelford Hay. “Setting the Stage for Success: Implementation of Developmental and Behavioral Screening and Surveillance in Primary Care Practice - The North Carolina Assuring Better Child Health and Development (ABCD) Project” Pediatrics 2006; 118(1); originally published online July 03, 2006; DOI: 10.1542/peds.2006-0475

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29