การประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดตราด กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • วัชชิระ เดือนฉาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

คำสำคัญ:

เครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดตราด กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เป็นการวิจัยในรูปแบบการวิจัยประเมินผลโครงการ ตามแบบจำลองซิปโมเดลของสตัฟเฟิลบีม ประเมิน 4 ด้านคือด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิตจากโครงการ โดยเก็บข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงาน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 24 คน และการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่าง 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2560 ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนผลการสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านบริบท คณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ ผู้บริหารหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ เห็นว่าโครงการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอเป็นนโยบายที่ดี มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการระบบสุขภาพของพื้นที่ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า การบริหารจัดการโครงการมีข้อเด่นคือการจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรมการจัดการงบประมาณ และการติดตามประเมินผล 3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน ในรูปคณะกรรมการหรือคณะทำงานทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ  มีการเตรียมความพร้อมแก่คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ในรูปแบบการประชุมคณะทำงานเพื่อระดมความคิด ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านผลผลิตหรือการดำเนินงาน พบว่าเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ มีแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพและเครือข่ายสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่  ส่งผลให้บุคคลากรมีการรับรู้และพึงพอใจในการมีส่วนร่วม การจัดบริการสุขภาพครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และผลการประเมินตามคุณลักษณะ 5 ด้าน (UCARE) ตามเกณฑ์การประเมินอำเภอจัดการสุขภาพในแต่ละประเด็นอยู่ในขั้นที่ 5 ทุกประเด็น ผลจากการประเมินสะท้อนให้เห็นว่าทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน เห็นสอดคล้องกันว่าโครงการระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดตราด  และสามารถแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานข้อมูลสภาพปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่เป็นจริงและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ เข้ามามีส่วนกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

References

Millennium Ecosystem Assessment. Eosystems and human well-beings: Health synthesis 2005 [cited 2012 1 ธันวาคม 2555]. Available from: http://www.millenniumassessment.org/en/Synthesis.html

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด; 2555.

กองทุนสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข,editors.

ประยงค์ เต็มชวาลา. การกระจายอำนาจ : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปงานสาธารณสุขไทย. นนทบุรี: สำนักงานสาธารณสุขเขต 10; 2540.

สำนักบริหารการสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับ (รสอ.). กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สุวิมล ติรกานันท์. การประเมินโครงการ: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2545.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม; 2544. หน้า 494 – 497.

Stufflebeam, D.L. The CIPP Model for Program Evaluation in George F. Madaus. Michea; S. Criven and L. Stufflebeam (eds.); 1983.

สุภางค์ จันทวานิช.การวิจัยเชิงคุณภาพ. กทม:โครงการเอกสารและตำรา ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

ชาย โพธิสิตา. การวิจัยเชิงคุณภาพ. กทม:โครงการเอกสารและตำราสถาบันวิจัยประชากรและสังคม; 2550.

Strauss, A.L.and Cabbin, J. Basic of qualitative research: Grounded theory procedures and techniques.SAGE publication; 1990. p. 53-66.

วิชัย เทียนถาวร. การสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ (80 Yrs with Quality of Life). พิมพ์ครั้งที่ 2 ed. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555. 470 หน้า.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. นโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี: กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Public Policy and Participatory Processes). พิมพ์ครั้งที่ 1 ed. กรุงเทพฯ: บริษัท ที.เค. พริ้นติ้ง จำกัด; 2551. หน้า 182 .

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, นวลอนันต์ ตันติเกตุ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2 ed. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, editors. กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541. 160 หน้า.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, editors. กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541. 160 p.

วรเดช จันทรศร, วินิจ ทรงประทุม. นโยบายและการนํานโยบายการประมงไปปฏิบัติ. กทม.: โครงการเอกสารและตําราคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2530.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29