ความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน

ผู้แต่ง

  • จิรนันท์ ช่วยศรีนวล คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสุขภาพ, โรคอ้วน, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

ในศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนในเด็ก (Obesity in children) กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน เกณฑ์การประเมินภาวะโภชนาการ ประเภทและผลกระทบของโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน แนวคิดความสำคัญของความฉลาดทางสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางสุขภาพในเด็กวัยเรียน จากการทบทวนพบว่า สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ สำหรับการประเมินภาวะโภชนาการในเด็กใช้การประเมินการเจริญเติบโตน้ำหนักตามความสูง (Weight-for-height) เด็กวัยเรียนเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น การส่งเสริมให้เด็กมีความฉลาดทางสุขภาพจึงเป็นกลวิธีการดูแลสุขภาพตนเองที่สำคัญ ความฉลาดทางสุขภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางสุขภาพในเด็กวัยเรียน ได้แก่ ปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระหว่างบุคคล และปัจจัยทางสังคม ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของความฉลาดทางสุขภาพ และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน ต่อไป

References

World Health Organization. Global Strategy on Diet, Physical Activity and Health [Internet]. 2018 [cited 2018 June 2018]; Available form: http://who.int/Dietphysicalactivity/childhood/en/.

World Health Organization. Tenfold increase in childhood and adolescent obesity in four decades [Internet]. 2017 [cited 2018 July 18]; Available form: http://www.who.int/en/news-room/detail/11-10-2017.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน จากอณูสู่ชุมชน ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ยูโอเพ่น จำกัด; 2558.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือนักจัดการน้ำหนักเด็กวัยเรียน นนทบุรี : โรงพิมพ์สามเจริญการพิมพ์ กรุงเทพฯ; 2559.

National Health of Adult Literacy (NAAL). [Internet]. 2003 [cited 2018 July 20]; Available form: https://nces.ed.gov/naal/health.asp.

Kanj M., Mitic W. Executive summary Promotion Health and Development : Closing the Implementation Gap. Nairobi Kenya; 2009.

Nutbeam, D.. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary Health education and communication strategies into health 21st century. Health promotion International; 2006.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6–12 ปี. [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561]. แหล่งข้อมูลhttps://gotoknow.org/posts/305008.

World Health Organization. Growth reference 5–19 years. [Internet]. [cited 2018 May 18]; Available form: http://www.who.int/growthref/who2007_bmi_for_age/en/.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูงและเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทย นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

จารุณี นุ่มพูล. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2558; 8(2) :1-12.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ; 2557.

Chaput J., Tremblay A. Encyclopedia on Early childhood Development. Obesity at an Early Age and Its Impact on Child Development. [Internet]. 2018 [cited 2018 July 18]; Available form: http://www.child-encyclopedia.com/child-obesity/according-experts/obesity-early-age-and-its-impact-child-development

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554 – 2563. กรุงเทพฯ; 2554.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Rootman I., Ronson B. Literacy and Health Research in Canada : Where We Been and Where Should We Go?. Canadian journal of public health 2005; p. 62–77.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ ประเทศไทย จำกัด; 2554.

จีรนันท์ แก้วมา, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ และโชติกา ภาษีผล. โมเดลความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. เอกสารความรอบรู้ทางสุขภาพความท้าทายของสุขศึกษาแนวใหม่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา; 2560

อังศินันท์ อินทรกำแหง. รายงานการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560

ธัญชนก ขุมทอง, ยุทธพงษ์ ขวัญชื้น, พรชัย จุลพันธ์. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายกับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสุขศึกษาและสื่อสารสุขภาพ 2558; 1(1): 5-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29