การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยง ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กนกพร ยอดยศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ณรงค์ชัย สังซา Roi-Et Hospital

คำสำคัญ:

2P Safety, ระบบรายงานความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพ
ตามมาตรฐานการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation) และมีความสำคัญในการเฝ้าระวังความปลอดภัยเชิงระบบ ทั้งด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety) การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือน ในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารความเสี่ยง จำนวน 80 คน โดยศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2561 รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาใช้สถิติ Paired Simple t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือน ในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ครั้งนี้มี 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยง
2) จัดทำแผนปฏิบัติการ 3) ประกาศนโยบาย 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ระบบการรายงานความเสี่ยง 5) รณรงค์ 2P Safety เสียงตามสายขยายความรู้ 2P Safety  6) การรายงานความเสี่ยงผ่าน QR Code
7) ติดตาม ประเมินผล และ 8) ถอดบทเรียน จากการพัฒนาส่งผลให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับค่าเฉลี่ยของบทบาทในการบริหารความเสี่ยง ความรู้ การมีส่วนร่วม การปฏิบัติ ความพึงพอใจ และวัฒนธรรมความปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จากกระบวนการพัฒนาทำให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด คือ ROIET Model

References

1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.; 2560.
2. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2544.
3. ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ข้อมูล
ผู้รับบริการผู้ป่วยในและนอกโรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2560.
4. ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด.
คู่มือการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2560.
5. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
(องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital and Healthcare Standards) ฉบับที่ 4. กรุงเทพมหานครฯ: โรงพิมพ์ดีวัน จำกัด; 2561.
6. Kemmis and Mc Taggart. 1988.
7. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
(องค์การมหาชน). แบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล (Hospital Survey on Patient Safety Culture): กรุงเทพฯ; 2558.
8. พัฑฒิดา สุภีสุทธิ์. การบริหารความเสี่ยง
ในองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนที่คัดสรร.ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.
9. วิชาญ เอี่ยมรัศมีกุล. การพัฒนาระบบ
สารสนเทศเพื่อการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กรณีศึกษา โรงพยาบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2553.
10. นภัสภรณ์ เชิงสะอาด. การการพัฒนา
คุณภาพระบบการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกตามมาตรฐานของงานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13