การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัยของสถาบันส่งเสริม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

ผู้แต่ง

  • สุคนธา ท้วมพงษ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย, สสปท.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม
ความปลอดภัยของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัยของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ด้านปัจจัยนำเข้า ปัจจัยกระบวนการ และปัจจัยผลลัพธ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย จำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) บุคลากรของ สสปท. จำนวน 4 คน 2) เครือข่ายความปลอดภัย ทั้งหมด 6 คน ได้แก่ 2.1) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน  2.2) ศูนย์ความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ 12 จังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน 2.3) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานภาคใต้ จำนวน 2 คน และ 3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมความปลอดภัย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์พรรณนา (Descriptive analysis) จากการวิเคราะห์เนื้อหาและตีความข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์ รวมทั้งตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัยของ สสปท. ยังขาดแผนการกระตุ้นการประชาสัมพันธ์ที่ดี ขาดแคลนบุคลากร และงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การประชุมนัดหมายการประชุมเครือข่ายค่อนข้างยาก ส่งผลต่อการเตรียมข้อมูลและการเข้าร่วมประชุม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการประชุมที่ยังผูกขาดความคิดเห็นอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการเดินทางและการไม่ได้รับอนุญาตของผู้เข้าร่วมกิจกรรมความปลอดภัย 2) การดำเนินกิจกรรมความปลอดภัยของ สสปท. ถือว่ามีประสิทธิภาพ ภายใต้อุปสรรคและข้อจำกัด บุคลากรมีความตระหนักและให้ความสำคัญ รับทราบขั้นตอน กระบวนการในการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย สามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายตามนโยบายและแผนงานขององค์การ มีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจ ในการประชุมเครือข่าย และในกิจกรรมความปลอดภัย มีความต้องการให้ สสปท. จัดกิจกรรมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องทุกปี จากข้อค้นพบในประสิทธิภาพครั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ และการเข้าถึงของประชาชน ควรมีการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน กำหนดให้งานความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญ ที่ทุกสถานประกอบกิจการต้องดำเนินการหาแนวทางที่เหมาะสม ยืดหยุ่นในแผนอัตรากำลัง บูรณาการการทำงานทุก และเน้นการมีส่วนร่วม

References

1. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน: รายงานประจำปี; 2559.
2. Herbert A. S. The New Science of Management Decision. California: Harper; 1960.
3. ฐิติศักดิ์ กัญจน์กษิดิส. การประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเทศบาลตำบลหนองควาย จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
4. วรรษา ตั้งวราลักษณ์. การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยโปรแกรมระบบบริหารทรัพยากรองค์กร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.
5. นัฐทนันท์ บุญทศ. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรองค์กรกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของเทศบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
6. Keith, D. D. Human behavior at work- human relations and organization behavior. New Planner. 1992. (35). p. 216 – 1224.
7. สุธี วรประดิษฐ. [ออนไลน์]. การมีส่วนร่วมของชุมชน. (อินเตอร์เน๊ต) (เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2561). เข้าถึงได้จาก : http://www.trat.nfe.go.th/trat/topic5_old.php?page=5. 2553.
8. วิษณุ หยกจินดา. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
9. Reeder, W. W. Some aspect of the informal social participation of families. New York: Cornell University; 1974.
10. Morse, N.C. Satisfacion in the White Collar Job. Ann Arbor: University of Michigan; 1958.
11. วุฒิพงษ์ กุลวงษ์. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงงาน บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; 2552.
12. ภูมินทร์ สุมาลัย. การศึกษาผลความพึงพอใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง; 2557.
13. วาสนา ศิริสาร. ปัจจัยจูงใจและความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการหารายได้ระหว่างเรียนของนักศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13