ความคิดเห็นของนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เทพพร ดงเรืองศรี ดงเรืองศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, การให้บริการการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีต่อ
การให้บริการการศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี โดยใช้สูตรของ Yamane และสุ่มอย่างง่าย จำนวน 234 คน เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า 1.นิสิตมีความพึงพอใจต่อการให้บริการคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการบริหารดำเนินงาน ( = 3.59) รองลงมาคือด้านการดำเนินการ ( = 3.58) และด้านเทคโนโลยี (= 3.57) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านลักษณะการ ให้บริการ ( = 3.57) 2.ปัจจัยเกี่ยวกับการบริการได้แก่ บุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ (r1 = 0.242) ระบบ การบริการ (r2=0.139) สภาพแวดล้อม (r3=0.163) คุณภาพการให้บริการ (r4 =0.176) ระยะเวลาบริการ (r5=0.196) และความสะดวกในการบริการ (r6 = 0.196) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

1. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ความรู้คู่คุณธรรม : รวมบทความเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
2. อุทุมพร จามรมาน. การจัดทำคู่มือการ
ประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา
ม.ป.ท. : ม.ป.พ.; 2542.
3. สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยากาศึกษา.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2541.
4. ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทาง
พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิทยาออฟเซท
การพิมพ์; 2550.
5. บุญชม ศรีสะอาด การวิจัยเบื้องต้น.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.
6. ชมพูนุช ตันพานิช และคณะ. การ
พัฒนาการให้บริการของสำนักส่งเสริม
วิชาการและงานทะเบียน. รายงานการวิจัย
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม; 2555.
7. จริยา สุดกระโทก, ขนิษฐา วิชัยดิษฐ์
และณัฐภณ สุเมธอธิคม. ความคิดเห็นของ
นักศึกษาต่อประสิทธิภาพการทำงานของ
กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2552.
8. พัชรี ภูบุญอิ่ม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึง
พอใจของนักศึกษา เกี่ยวกับการบริการของ
สำนัก ส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
9. ชาลินี พลดีลา และคณะ.ความคิดเห็นของ
นักศึกษาภาคปกติเกี่ยวกับการให้บริการ
ของเจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. รายงาน
การวิจัย มหาวิทยาลัยจันทรเกษม; 2551.
10. อังคณา ศรีมุลตรี. ความพึงพอใจของนิสิต
ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ระบบปกติและ
ระบบพิเศษ ต่อการให้บริการกองทะเบียน
และประมวลผล มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัย. การศึกษาอิสระปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต; 2548.
11. ดรุณี คงสุวรรณ์. ความพึงพอใจของ
นักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของ
สำนักบริการวิชาการและ92 ทดสอบ
ประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราคำแหง.
2549; 9(ฉบับพิเศษ): 79 – 97.
12. บังอร รัตนมณีและกันยา เจริญศักดิ์.
ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ
งานบริการการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยี
อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุ
ศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้า
พระนครเหนือ 2553; 1(1): 21-28.



13. วัลลภ สงวนศักดิ์. คุณภาพการให้บริการ
งานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช ตามการรับรู้ของ
นักศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย;
2554.
14. วิชัย ธิโวนา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึง
พอใจในการให้บริการของสำนักทะเบียน
ท้องถิ่นเทศบาล นครเชียงใหม่.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13