การประเมินผลโครงการต้นแบบตำบลฟันดี ตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ปินเครือ โรงพยาบาลแม่พริก

คำสำคัญ:

การประเมินผล, โครงการต้นแบบตำบลฟันดี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการต้นแบบตำบลฟันดี ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานและผลผลิตของโครงการ โดยใช้ CIPP Model ศึกษาในกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 2-3 ปี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือทันตบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 27 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึก ในช่วงเวลาระหว่าง ตุลาคม 2561 ถึง กันยายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในข้อมูลเชิงคุณภาพ มีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) ด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนในขณะที่แผนงานไม่ชัดเจนเนื่องจากกิจกรรมคล้ายคลึงและซ้ำซ้อนกับงานประจำ มีตัวชี้วัดมากเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรอื่น ๆ มีข้อจำกัดด้านช่วงเวลาของการทำแผนไม่ตรงกัน และการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้นอยู่กับกิจกรรม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และบุคลากรไม่เพียงพอ ในส่วนด้านเวลาการดำเนินงานต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเพิ่มเติม รวมถึงด้านแผนดำเนินงานครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายแต่ขาดคุณภาพ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า ทุกกิจกรรมตามโครงการ มีข้อจำกัดเรื่องความไม่เพียงพอและความไม่เหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ บุคลากร การบริหารจัดการและผู้ปกครองเด็กส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของการดำเนินงาน 4) ด้านผลิตผล พบว่า การตรวจฟันหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์บรรลุตัวชี้วัดตามโครงการร้อยละ 100 ในขณะที่การเยี่ยมบ้านหลังคลอดพบร้อยละ 83.72 การสอนเช็ดเหงือกพบ ร้อยละ 57.50 การประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุของเด็กในคลินิกเด็กดี ในช่วงอายุ 9 เดือน และ 18 เดือนพบร้อยละ 65.30, 67.30 ตามลำดับ การฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ ในอายุ 9 เดือน และ 18 เดือน พบร้อยละ 2.86, 9.09 ตามลำดับ การทาฟลูออไรด์วานิช ในเด็กอายุ 9 เดือน และ 18 เดือนพบร้อยละ 65.31, 67.35 ตามลำดับ การเยี่ยมบ้านพบร้อยละ 42.86 กิจกรรมทั้งหมดนี้มีผลการดำเนินงานไม่บรรลุตัวชี้วัดตามร้อยละ 90 ตามที่โครงการกำหนดไว้ ในด้านผลที่ตามมา กิจกรรมพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็ก 2 ครั้งและ1 ครั้งต่อวันพบร้อยละ 40.81, 34.69 ตามลำดับ ภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น ในส่วนด้านผลกระทบ พบว่า เด็กมีภาวะปราศจากฟันผุพบร้อยละ 85.42 ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีแต่ยังไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดร้อยละ 100 ตามที่โครงการกำหนดไว้ได้ 

References

1. Seow WK, Walsh LJ, Bird P, Tudehope DL, Purdie DM. Wan AK1. Association of Streptococcus mutans infection and oral developmental nodules in pre-dentate infants. J Dent Res, 2001; 80(10): 1945-1948.
2. Seow WK, Purdie DM, Bird PS, Walsh LJ, Tudehope DI. Wan AK1. Oral colonization of Streptococcus mutans in six-month-old predentate infants. J Dent Res, 2001; 80(12): 2060-2065.
3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ปีงบประมาณ 2559.
5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่พริก. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2559. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่พริก; 2559.
6. ส. จันทร์รัก. แบบจำลอง CIPP Model. Gotoknow.org. [ออนไลน์] https://www.gotoknow.org/posts/453748, 2010. [สืบค้นเมื่อ 26 Feburary 2017.] https://www.gotoknow.org/posts/453748.
7. George Edward White. Dental caries: A multifactorial disease.Charles C Thomas Publisher, 1977; 71(1): 105–106.
8. P Caufield. Cares in the Primary Dentition: A Spectrum Disease of Multifactorial Etiology. New York: New York University; 2010
9. Anon. https://dbqao.donboscobkk.ac.th/. https://dbqao.donboscobkk.ac.th/. [ออนไลน์] 2017. [สืบค้นเมื่อ 27 2 2017.] http://dbqao.donboscobkk.ac.th/upload/file_doc/file_doc_JLGY.pdf.
10. Hani H. Mawardi. Current understanding of the relationship between periodontal and systemic diseases.Saudi Medical Journal, 2015; 36(2): 150–158.
11. The dental professional community by the American association of Endodontics. Oral disease and systemic health; What is connection. The dental professional community by the American association of Endodontic; 2000.
12. A Castilho. Influence of family environment on children's oral health: a systematic review. Jornal de Pediatria, 2013; 89(2): 116-123.
13. Chestnutt Murdoch. Parents and carers' choice of drinks for infants and toddlers, in areas of social and economic disadvantage. Community Dent Health, 2003; 20(3): 139-145.
14. Hamid Reza Poureslami. Early Childhood Caries (ECC) An Infectious transmissible oral disease. Indian Journal of Pediatrics, 2008; 76: 191-193.
15. เขมณัฏฐ์ เชื้อชัยทัศน์, สุธา เจียรมณีโชติชัย, จันทนา อึ้งชูศักดิ์ สุพรรณี ศรีวิริยกุล. คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย. : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
16. National Maternal and Child Oral Health Policy Center .Children’s Oral Health in the Health Home. [Trendnotes Issue No. 4] National Maternal and Child Oral Health Policy Center; 2011: 1-13.
17. Anukul. การกำหนดกรอบอัตรากำลังสายวิชาชีพ รอบ 2; 2558; หน้า 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10