ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การพอก, ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, อาการปวดเข่าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพร ต่อระดับความปวดของข้อเข่า วิธีการศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลองโดยมีการเปรียบเทียบก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยวิธีการพอกเข่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 30 ราย ใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) และแบบประเมินความเจ็บปวด (VRS) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – testผลการวิจัย พบว่าจำนวนผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวนทั้งหมด 30 ราย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 เพศชาย 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 อายุกลุ่มทดลองเฉลี่ย 59.63 ปี (SD = 6.408) ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 55 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาอายุ 50 –54 ปี และอายุ 60 – 64 ปี ร้อยละ 20หลังการเข้าร่วมการพอกเข่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมเท่ากับ 30.23 (SD = 2.873) ซึ่งสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการพอกเข่าที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมเท่ากับ 25.07 (SD = 2.852) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value) ที่ระดับ 0.01หลังการเข้าร่วมการพอกเข่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 2.63 (SD = .964) ซึ่งต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมการพอกเข่าที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 4.90 (SD = .803) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value) ที่ระดับ 0.01สรุปได้ว่าการใช้ยาพอกเข่าสามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาทดแทนการใช้ยาแบบรับประทานได้
References
2. สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และคณะ.รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP); 2556.
3. หน่วยเวชระเบียน. รายงานสถิติประจำปี. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ. นครปฐม; 2558.
4. Kellgren, J. H, & Lawrence, J. S. Radiological assessment of osteoarthrosis.
Annal Rheumatism Disease. 1957; 16: 494 – 502.
5. Holman, H. R., & Lorig, K. R. Overcoming barriers to successful aging self-management of osteoarthritis. In Successful aging. West Journal Medicine. 1997; 167: 256 – 268.
6. Bellamy, N., Buchanan, W. W., Goldsmith, C. H., Campbell, J., & Stitt, W. Validity study of WOMAC: A health status instrument of measuring clinically important patient relevant outcome to antirheumatic drug therapy in patient with osteoarthritis of the hip or knee. Journal of Rheumatology. 1988; 15: 1833 – 1840.
7. American Academy of Orthropaedic Surgeons. Osteoarthritis of the knee stateof the condition [Electronic Version]. 1 – 25. Retrieved September 11, 2017, from http//aaos.org/Research/documents/OAinfo Knee-State.pdf. 2004.
8. แววดาว ทวีชัย. พฤติกรรมการดูแลตนเองและความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
9. Kuptniratsaikul, V., & Rattanachaiyanont, M. Validation of a modified thai versionof the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee
osteoarthritis. Clinical Rheumatology. 2007; 26: 1641 – 1645.
10. Lequesne, M. Indices of severity and disease activity for osteoarthritis. Seminarin Arthritis and Rheumatism. 1991; 20: 48 – 54.
11. Dawson J, Fitzpatrick R, Murray D Carr-A. Questionnaire on the Perceptions of patient
about total knee replacement. J joint. Surg Br. 1988; 80(1): 63 – 69.
12. ปิยะพล พลูสุข. ประสิทธิผลของยาพอกเข่าสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2560; 18 (1).