ปัจจัยความสำเร็จการขับเคลื่อนการดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาว เขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ภานุพันธ์ ไพฑูรย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

รพ.สต.ติดดาว, อำเภอเมืองพะเยา, ปัจจัยความสำเร็จ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพทำการศึกษาด้วยการทบทวนรวบรวมข้อมูลเอกสารการดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาวในเขตอำเภอเมืองพะเยา ปีงบประมาณ 2560-2562 และศึกษาจากการประชุม กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านการขับเคลื่อนการดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาว มีขั้นตอนการดำเนินงานโดยมีการจัดตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่การทำงาน กำหนดเป้าหมายและวางแผนร่วมกันในระดับอำเภอ วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน ทบทวนสาเหตุและหาแนวทางพัฒนาแนวแก้ไขปัญหาร่วมกัน ได้แก่ วิเคราะห์องค์กร วางแผนการดำเนินงาน การสื่อสารองค์กร เรียนรู้ร่วมกัน สรุปผลคืนข้อมูล และนำผลการปฏิบัติงานที่ได้พัฒนาต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลักบริหารองค์กร และการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement: CQI) ด้านปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว คือ 1) กลยุทธ์ขององค์กร วิเคราะห์ผล กำหนดเป้าหมาย วางแผน และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติงานที่มีความชัดเจนเป็นหนึ่งเดียว 2) โครงสร้างขององค์กร มีการจัดคณะทำงาน มอบหมายภารกิจหน้าที่อย่างชัดเจน 3) ระบบการปฏิบัติงาน จัดทำแผนปฏิบัติการ ตรวจสอบคน เงิน ของ จัดระบบสื่อสารภายในองค์กร สร้างการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกัน 4) บุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง 5) ทักษะความรู้ความสามารถ บุคลากรมีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน 6) รูปแบบการบริหารจัดการ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานร่วมงานแผนการดำเนินงาน 7) ค่านิยมร่วม กำหนดเป้าหมายหนึ่งเดียวร่วมกัน คณะทำงานมุ่งมั่นทุ่มเท เสียสละ เอาใจใส่ เต็มใจและให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผลการดำเนินงาน รพ.สต.ในเขตอำเภอเมือง ผ่านการประเมินคุณภาพ รพ.สต.ระดับ 5 ดาว ครบทุกแห่ง ในปี 2562 เป็นอำเภอแรกในจังหวัดพะเยา

References

1. กองยุทธศาสตร์และแผน.แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุขและแผนปฏิบัติการคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2561: กระทรวงสาธารณสุข, 2560.
2. อรมณี ภัทรทิพากร, มรรยาท รุจิวิชชญ์และฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์. “ผลของ CQI ต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรในงานพัฒนาคุณภาพการบริการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ”,TUH Journal online. 1(1): 42-52 ; มกราคม - เมษายน 2559.
3. Henri J. Fayol.แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ. สืบค้นจากhttp://adisony.blogspot.com/2012/10/henri-fayol.html. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562
4.เฉลิมวุฒิ อุตโน, จำลอง โพธิ์บุญ, และ วิสาขา ภู่จินดา. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 33 (3): 9-30; กันยายน – ธันวาคม 2558.
5. พิสิษฐ์ ฉัตรวิวัฒนากุล. การศึกษาปัจจัยความสําเร็จการดําเนินงานโครงการย้ายกองพันสรรพาวุธซ่อมบํารุงเขตหลังของกองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษปีงบประมาณ 2555 – 2559. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
6.หทัยรัตน์ คงสืบและวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 5(1): 72-84; มกราคม - มิถุนายน 2562.
7.กุศลาสัย สุราอามาตย์, สงครามชัย ลีทองดี และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 16(1): 63-69; มกราคม – เมษายน2562.
8.บุญทิพย์ ลิขิตพงษ์วิทย์ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. ปัจจัยความเป็นเลิศในการบริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4(1): 117-134; มกราคม - เมษายน 2560.
9. Peters, T., and Waterman Jr., R..Insearch of Excellence.New york: Harper Collins Publisher; 1982.
10.Dubrin, A. J.. Essential of Management. (9th ed). New York: South-Western CollegePublishing; 2012.
11.มุทิตา วรกัลยากุล. ความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยบริการ. 24(1) : 144 – 158; มกราคม-มีนาคม 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10