ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุทิศา อาภาเภสัช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล     ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อการการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี ระดับการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี และปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของจังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.97 กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในกลุ่มผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริการสาธารณสุข จำนวน 174  แห่ง ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 348 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 61.2 อายุเฉลี่ย 42.09  ปี (SD=11.072) สถานภาพสมรสคู่ การศึกษาปริญญาตรี อายุราชการเฉลี่ย  21.24 ปี (SD=11.006) ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 18.35 ปี (SD=11.230) และมีรายได้มากกว่า 40,000 บาท 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากองค์การ และการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูง  3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี คือ อายุราชการ การบริหารจัดการ แรงจูงใจด้านการยอมรับ ความมั่นคงในงาน และงบประมาณ  สามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 53.3 4) ปัญหาอุปสรรค คือ ภาระงานเพิ่ม บุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ได้รับค่าตอบแทนน้อย เครือข่ายอินเตอร์เนตล่าช้า ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรใช้กระบวนการบริหาร  แรงจูงใจ  เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทาง เช่น เพิ่มบุคลากรให้เพียงพอ การจ่ายค่าตอบแทน  พัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูล บริหารจัดการในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ และสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

References

1. ชูชัย ศุภวงศ์และคณะ. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.บริษัท ที คิว พี จำกัด, 2556.
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.รายงานประจำปี 2562. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2562.
3. Schermerhorn,R.,Hurt,G.,and Osborn,N.Organization Behavior. New York:John Wiley & Sons. 2003.
4. ยงยุทธ เอี่ยมฤทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพบริการศูนย์สุขภาพชุมชนของบุคลากรจังหวัดลพบุรี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
5. เสาวนีย์ ประลองกิจ. การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ ตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน ด้านการให้บริการในชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา . มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ขอนแก่น, 2552.
6. Herzberg,Frederick,et al,.The Motivation to Work.New York:John Wiley and Sons, 1959.
7. ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.
8. ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์.ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557.
9. รุ่งนภา แสงมณี. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในสังกัดภาค 6. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2552.
10. วิภาวรรณ อริยานนท์ และ คณะ. หลักบริหารเบื้องต้น .กระทรวงสาธารณสุข: วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข, 2554.
11. กระทรวงสาธารณสุข. สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ.คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพติดดาว(รพ.สต.ติดดาว).ม.ป.ท.,ม.ป.ป., 2563.
12. กระทรวงสาธารณสุข,สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.ม.ป.ท.,ม.ป.ป. ,2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19