รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพของเครือข่ายสุขภาพ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รติยา วิภักดิ์ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
  • กุศลาสัย สุราอามาตย์ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์, เครือข่ายสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสภาพปัญหา วิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้อง และแบบรายงานผลการประเมินปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2562  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัย พบว่า 1) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพของเครือข่ายสุขภาพอำเภอจตุรพักตรพิมาน ประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้น คือ การค้นหาปัญหาและวางแผน (Investigation and Planning; I)  การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (Doing; D) การควบคุมกำกับ ติดตามและประเมินผล (Evaluation monitoring and control; E) การปรับปรุงและสะท้อนผล (Leaning and Sharing; L) ด้วยวิธีการสะท้อนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางปรับแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยรูปแบบการขับเคลื่อนฯ ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.58, SD = 0.32) 2) การประเมินผลการปฏิบัติราชการ พบว่า ความสำเร็จของการบริหารยุทธศาสตร์เครือข่ายสุขภาพอำเภอจตุรพักตรพิมาน โดยรวมของตัวชี้วัดทั้งหมด 31 ตัวชี้วัดอยู่ในระดับดีมากและดี (ร้อยละ 91.2)  เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายยุทธศาสตร์ พบว่า ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (ร้อยละ 100.0) รองลงมา คือ ด้านบริการเป็นเลิศ (ร้อยละ 91.7) ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (90.0%) และด้านการบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (ร้อยละ 88.9) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่ามี 3 ตัวชี้วัด ที่มีผลการปฏิบัติราชการที่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 8.8) ได้แก่ อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และระดับความสำเร็จของประชาชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเอง การวิจัยครั้งนี้ เป็นรูปแบบสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิโดยเฉพาะ หากจะนำไปใช้กับหน่วยบริการระดับอื่น ๆ ควรมีการปรับประยุกต์ให้เหมาะสมต่อไป

References

1. วรางคณา ผลประเสริฐ. การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (อินเทอร์เน็ต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 (วันที่อ้างถึง 26 มกราคม 2563). ที่มา: https://www.stou.ac.th/Schools/ Shs/ upload/2019-05-24%2022-01%20Copy%20of%2053708-9.pdf
2. กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการแพทย์. สรุปผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณสุขเครือข่ายสุขภาพอำเภอจตุรพักตรพิมานประจำปี 2561.กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน, 2561.
3. เกษมสันศานต์ ชัยศิลป์. “การศึกษาการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุขสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่,” วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 3(1) : 43-54; ตุลาคม -มีนาคม 2560.
4. เกริกยศ ชลายนเดชะ. แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนาคุณภาพบริ การของโรงพยาบาล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.
5. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. สรุปผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2560. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560.
6. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน(อินเทอร์เน็ต). นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562. (วันที่อ้างถึง 18 พฤษภาคม 2563). ที่มา: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/ files/template62_edit3.pdf.
7. ประภาส อนันตา และเสถียรพงษ์ ศิวินา. “รูปแบบการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด,” วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 20(1): 9-18; ตุลาคม 2555-มีนาคม 2556.
8. บุญเลิศ พิมศักดิ์ และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. “การพัฒนารูปแบบการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของเครือ ข่ายสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด,” วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 15(2): 23-32; พฤษภาคม-สิงหาคม, 2562.
9. วราวรรณ ฐาปนธรรมชัย และกมลพร สอนศรี. “กลยุทธ์การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่ออำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม,” วารสารวิทยบริการ. 24(3): 94-108; กรกฎาคม-กันยายน, 2556.
10. ศศิวรรณ ต้นกันยา, ศิริศักดิ์ จันฤๅไชย และรังสรรค์ โฉมยา. “ปัญหาและแนวทางการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนเก่น เขต 4,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(3): 164-177; กรกฎาคม-กันยายน, 2557.
11. ศศิธร ศรีแก้ว และสุดารัตน์ ลิจุติภูมิ. “การพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดลพบุรี,” วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (4)2: 3-12; พฤษภาคม-สิงหาคม, 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19