ผลของโปรแกรมการฝึกเต้นลีลาศด้วยหลักการฝึกหนักสลับเบา ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุเพศหญิง

ผู้แต่ง

  • ณัฐชัย พรมโม้ สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อาภรณ์ โพธิ์ภา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ลีลาศ, หลักการฝึกหนักสลับเบา, สมรรถภาพทางกาย, ผู้งสูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการฝึกเต้นลีลาศด้วยหลักการฝึกหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงอายุ 60-69 ปี จำนวน 40 คน เป็นผู้สูงอายุโรงเรียนดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จำนวน 22 คน เป็นกลุ่มทดลองและผู้สูงอายุในโรงเรียนวัดพระโต อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 18 คน เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง มีรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการฝึกเต้นลีลาศด้วยหลักการฝึกหนักสลับเบา และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การฝึกลีลาศด้วยหลักการฝึกหนักสลับเบา (กลุ่มทดลอง) และการออกกำลังกายแบบปกติ (กลุ่มควบคุม) พัฒนาด้านความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อแขน, ความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อขา สมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร พ.ศ. 2558 – 2559 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค. 60]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th
2. กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2558.
3. ปานจันทร์ อิ่มหนำ. การเตรียมความพร้อมของสตรีด้านสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2561; 2: 151-164.
4. แดน สวรรณะรุจิ. แนวทางเชิงนโยบายที่ช่วยลดทุพพลภาพและพึ่งพาของผู้สูงอายุหญิงและชายไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2556; 3: 156-165.
5. Boonyakawee P., Taneepanichskul S., Chapman R. Effects of an intervention to reduce insecticide exposure on insecticide-related knowledge and attitude: a quasi-experimental study in Shogun orange farmers in Krabi Province, Thailand. Risk Management and Healthcare Policy. 2013; 6: 33–41.
6. ปภาวดี สุนทรธัย. ผลการฝึกออกกำลังกายด้วยเพลงลีลาศจังหวะบีกินต่อสมรรถภาพการทรงตัวและการเดินในผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2559; 26(2): 61-66.
7. ปัทมาวดี สิงหจารุ. การออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2558; 21(2): 99-108.
8. พิชิต ภูติจันทร์. กีฬาลีลาศ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ ; 2549.
9. พรศิริิ พฤกษะศรี. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2551; 26(4): 323-337.
10. ปภาวดี สุนทรชัย. ผลการฝึกออกกำลังกายด้วยเพลงลีลาศจังหวะบีกินต่อสมรรถภาพการทรงตัวและการเดินในผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2559; 26(2): 61-66.
11. กิตติศักดิ์ วงษ์ดนตรี. ผลของการฝึกที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาที่มีต่อน้ำหนักตัว และสมรรถภาพทางกายของนักกีฬามวยปล้้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
12. ศิริพร ศิริกาญจนโกวิทย์. การเปรียบเทียบผลของการเดินแบบหนักสลับเบาและแบบต่อเนื่องที่มีต่อสุขสมรรถนะของหญิงสูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.; 2549.
13. สุพิตร สมาหิโต. คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนไทย อายุ 60-89 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2559.
14. สุดใจ พลนารักษ์. การเปรียบเทียบผลของการฝึกลีลาศประเภทบอลรูมกับลาตินอเมริกัน ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสารเคมีในเลือดของผู้สูงอายุ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต พลศึกษา]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542.
15. อมรรัตน์ เนียมสวรรค์. ผลของการออกกำสังกายแบบแอโรบิดโดยใช้คนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลลและสุขภาพ. 2555; 6(2): 62-75.
16. Coswig, Victor Silveira, et al. "Effects of high vs moderate-intensity intermittent training on functionality, resting heart rate and blood pressure of elderly women. Journal of Translational Medicine. 2020; 18(1).
17. ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. บทความวิชาการสำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ค. 62] เข้าถึงได้จาก http://www library.senate.go.th)
18. ญาดานุช บุญญรัตน์. การเปรียบเทียบผลระหว่างโปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทิสและการออกกำลังกายแบบฝึกการทรงตัวที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจในการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559; 31(6): 34-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26