การจัดบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิทยา ศรีเมือง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัฒน์ อาสนะ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดบริการปฐมภูมิ, หน่วยบริการปฐมภูมิ, โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (กรณีศึกษา) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยบริการปฐมภูมิในอำเภอเมือง น้ำพองและอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง 170 คน ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในและนอกคลินิกหมอครอบครัวนำร่อง (PCC) ในคลินิกผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (NCD Clinic) ของโรงพยาบาล และในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของทั้ง 3 อำเภอ ซึ่งเป็นอำเภอนำร่องในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของประเทศ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หน่วยบริการปฐมภูมิทั้ง 3 อำเภอมีกระบวนการและระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการในภาพรวมเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยในด้านกระบวนการนั้นคลินิก NCD ของโรงพยาบาลขอนแก่นและอุบลรัตน์ค่อนข้างโดดเด่นกว่าหน่วยบริการอื่น ๆ ในหลายประเด็น แต่อย่างไรก็ดีด้านความต่อเนื่องในการดูแลและการเชื่อมประสานการดูแลผู้ป่วยนั้น PCC ในโครงการนำร่องของอำเภอเมือง และด้านการจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลอย่างมีส่วนร่วมที่ PCC ในโครงการนำร่องของอำเภออุบลรัตน์ มีการดำเนินงานดูโดดเด่นกว่าหน่วยบริการอื่น ๆ ส่วนอำเภอน้ำพองนั้น PCC ในโครงการนำร่องมีการดำเนินงานที่ค่อนข้างโดดเด่นกว่าหน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ ในอำเภอเดียวกันในทุกด้าน ส่วนในด้านระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการนั้นในส่วนของอำเภอเมืองคือคลินิก NCD ของโรงพยาบาลขอนแก่นมีระบบที่โดดเด่นที่สุด ขณะที่อำเภอน้ำพองและอุบลรัตน์โดย PCC ในโครงการนำร่องมีระบบโดดเด่นกว่าหน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ เกือบทุกประเด็นยกเว้นด้านการมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องที่ PCC ในโครงการนำร่องของอำเภออุบลรัตน์ยังมีการดำเนินการยังไม่ต่อเนื่องนัก จากผลการศึกษาอาจมองเห็นโอกาสในการพัฒนาการจัดบริการปฐมภูมิโดยเฉพาะใน PCC นำร่อง ดังนั้นการขับเคลื่อนในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติจึงควรได้รับการพิจารณาในการให้การสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

1. World Health Organization. Global strategy for health for all by the year 2000. World Health Organization; 1981.
2. World Health Organization. A vision for primary health care in the 21st century: Towards universal health coverage and the Sustainable Development Goals. World Health Organization; 2018.
3. Rojanapithayakorn W, editor. Thailand Health Profile 2016-2017. Ministry of Public Health; 2019. (in Thai)
4. Regulations of the Office of the Prime Minister on Regional Quality of Life B.E.2561 (2018). (in Thai)
5. Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2560 (2017) s 258. (in Thai)
6. Ministry of Public Health. Primary Care Cluster Guideline for Health Care Units. Ministry of Public Health; 2016. (in Thai)
7. Primary Health Care System Act B.E.2562 (2019). (in Thai)
8. Porter ME. Value-based health care delivery. Annals of surgery. 2008 Oct 1;248(4):503-11. Berwick DM, Nolan TW, Whittington J. The Triple Aim: Care, Health, and Cost. Health affairs. 2008 May;27(3):759-69.
9. Berwick DM, Nolan TW, Whittington J. The Triple Aim: Care, Health, and Cost. Health affairs 2008;27(3):759-769.
10. Sriyakul D, Labbenjakul S. Report on Development of Delivery Model and Guideline for Integrated People-Centered Health Service of Primary Care Cluster. Health Systems Research Institute; 2020. (in Thai)
11. Public Health Provincial Office. Inspection Report: Executive Summary (Round 1), 8-10 February, 2017. (in Thai)
12. Sadtrakulwatana V. The Development of A Chronic Diseases Clinic Model (Diabetes, Hypertension) in Primary Health Care Units, Mueang District, Sing Buri Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2018;8(1):24-36. (in Thai)
13. Jandeekrayom C, Chanthanuy K. Development of Diabetes Care System in a Network of Primary Care Unit Under the Context Rural District, Yangsisurat District, Mahasarakham Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2017;7(2):168-178. (in Thai)
14. Nisapanun A. A Comparative Study on Effectiveness in the Treatments for Diabetes Mellitus Provided by Sateuk Hospital and Nikhom Primary Care Unit. MEDICAL JOURNAL OF SRISAKET SURIN BURIRAM HOSPITALS. 2013;28(1):43-51. (in Thai)
15. Ekman I, Swedberg K, Taft C, Lindseth A, Norberg A, Brink E, Carlsson J, Dahlin-Ivanoff S, Johansson IL, Kjellgren K, Lidén E. Person-centered care—ready for prime time. European journal of cardiovascular nursing. 2011 Dec;10(4):248-51.
16. Miles A, Asbridge JE. The chronic illness problem. The person-centered solution. European Journal for Person Centered Healthcare. 2016 Jun 24;4(1):1-5.
17. Srithamrongsawas S, Suggestions for Primary Health Care Development Under Ministry of Public Health. Health Systems Research Institute; 2009. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26