โมเดลความสัมพันธ์ของคุณภาพระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์ของผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ

ผู้แต่ง

  • วรกมล อยู่นาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

คุณภาพของระบบ, การใช้งานระบบ, ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน, ประโยชน์ของผู้ใช้งาน, ระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ของคุณภาพระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์ของผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ ประกอบด้วย ความง่ายในการใช้งาน ความปลอดภัยในการใช้งาน ความรวดเร็วในการตอบสนอง และความมีเสถียรภาพ กับการใช้งานระบบ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ กับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์ของผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพของระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์ของผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งานระบบตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ ที่เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพผู้ปฏิบัติงานระบบการควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1,100 คน และผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ จึงได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อคุณภาพของระบบ การใช้งานระบบ ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และประโยชน์ของผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น และข้อมูลเบื้องต้นใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพของระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ มีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งาน (2) คุณภาพของระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ มีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (3) การใช้งานระบบมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (4) การใช้งานระบบมีอิทธิพลทางบวกต่อประโยชน์ของผู้ใช้งานการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ และ (5) ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน มีอิทธิพลทางบวกต่อประโยชน์ของผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ ข้อเสนอแนะควรมุ่งเน้นในการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ ให้มีความชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจของผู้ใช้งาน และไม่ให้บุคคลอื่นสามารถขโมยข้อมูลในระบบไปใช้ได้ รวมถึงให้ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีเสถียรภาพ ตอบสนองต่อคำสั่งการต่าง ๆ และจัดเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจะเกิดความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งานระบบการตรวจสอบภายในอัตโนมัติ 5 มิติ

References

1. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. คำรับรองการปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: 2562.
2. ชูศรี วงศ์รัตนะ. การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ทิปพับลิเคชั่น; 2544.
3. ศศินิภา ทิวาลัย และวศิน เหลี่ยมปรีชา. การวัดประสิทธิผลด้านการให้บริการของระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ของธุรกิจโรงแรมโดยการใช้แบบจำลองของดีลอนแอนด์แม็คคลีนและอีเมตริก. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรสวร. 7 [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2562] ; 1 : [89-101]. เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54664/45371
4. Chen, J. V., Chen, Y., & Capistrano, E. P. S. Process quality and collaboration quality on B2B e–commerce. Industrial Management & Data Systems 2013; 6 : 908 - 26.

5. Lee, S. K., & Yu, J. H. Success model of project management information system in construction. Automation in Construction 2012; 25 : 82 – 93.
6. Wang, E. H. H., & Chao–Yu, C. System quality, user satisfaction, and perceived net benefits of mobile broadband services. In 8th Asia-Pacific Regional ITS Conference. Taipei: International Telecommunications Society; 2011.
7. Dong, T. P., Cheng, N. C., & Wu, Y. C. J. A study of the social networking website service in digital content industries: The Facebook case in Taiwan. Computers in Human Behavior 2014; 30 : 708 – 14.
8. Choi, W., Rho, M. J., Park, J., Kim, K. J., Kwon, Y. D., & Choi, I. Y. Information system success model for customer relationship management system in health promotion centers. Healthcare Informatics Research 2013; 2 : 110 - 20.
9. Elliot, S., Li, G., & Choi, C. Understanding service quality in a virtual travel community environment. Journal of Business Research 2013; 8 : 1153 – 1160.
10. Jalal, D., & Al-Debei, D. J. Developing and implementing a web portal success model. Jordan Journal of Business Administration 2013; 9 : 161 - 90.
11. Lwoga, E. T. Measuring the success of library 2.0 technologies in the African context: The suitability of the DeLone and McLean’s model. Campus–Wide Information Systems 2013; 4 : 288 – 307.
12. Park, S., Zo, H., Ciganek, A., & Lim, G. G. Examining success factors in the adoption of digital object identifier systems. Electronic Commerce Research and Applications 2011; 6 : 626 – 36.
13. Petter, S., & Fruhling, A. Evaluating the success of an emergency response medical information system. International Journal of Medical Informatics 2011; 7 : 480 – 89.
14. Balaban, I., Mu, E., & Divjak, B.. Development of an electronic portfolio System success model An information systems approach. Computers & Education 2013; 1 : 396 - 411.
15. Baraka, H. A., Baraka, H. A., & El–Gamily, I. H.. Assessing call centers’ success: A validation of the DeLone and Mclean model for information system. Egyptian Informatics Journal 2013; 2 : 99 - 108.
16. Hou, C. K. Examining the effect of user satisfaction on system usage and individual performance with business intelligence systems: An empirical study of Taiwan's electronics industry. International Journal of Information Management 2012; 32 : 560 – 73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26