การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ฮูดา แวหะยี สาขาวิทยาการธุรกิจสุขภาพ คณะวิทยาศาสตรเทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

การรับรู้ความรุนแรง, พฤติกรรมการป้องกัน, โควิด-19, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่น ในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิจากประชากรกลุ่มอายุ 18-21 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ออนไลน์ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของโรค และพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.89 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้คือใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลแจงนับใช้ความถี่ ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 75.5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 78.5 อาชีพรับจ้างร้อยละ 29.1 รองลงมาเป็นนักศึกษา 27.2 อาศัยอยู่กับพ่อแม่ร้อยละ 42.7 กิจกรรมนอกบ้านที่ปฏิบัติเป็นประจำ ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่กินข้าวนอกบ้านร้อยละ 45.9 รองลงมาเรียนพบปะเพื่อนฝูงร้อยละ 32.8 ปัจจุบันกิจกรรมที่ทำส่วนใหญ่อยู่บ้านลดเชื้อ ร้อยละ 68.2 รองลงมา ออกไปทำงาน 26.7 วัยรุ่นมีระดับการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับมากร้อยละ 87.1 ความถี่ในการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ระดับมากร้อยละ 91.4 การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันของโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

1. New South Wales Ministry of Health. NSW COVID-19 case statistics. [Internet]. 2020: Retrieved 24 March 2020 Available from : https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/diseases/Pages/covid-19-latest.aspx
2. ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. จะผ่านพ้นวิกฤตโลก โควิด 19 ระบาด ด้วยฐานความรู้และ การปฏิบัติ Surviving Covid 19 Pandemic with Knowledge and Action, 2563. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 14 บับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563 : 3
3. Worldometer.COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC. [Internet]. 2020 Retrieved 26 March 2020 from https://www.worldometers.info/coronavirus/
4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข .รายงานสถานการณ์ โควิด-19 [ออนไลน์] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.ddc.moph.go.th/th
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. สถานการณ์โควิด-19 รายวัน สสจ.ยะลา. [ออนไลน์] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/view/epiyala/
6.พรสุข หุ่นรันดร์. พฤติกรรมศาสตรทางสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่4 ภาควิชาสุขศึกษาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร;2545 : 160-161.
7. ซารีฟะห์ เจ๊ะแว.ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัย ในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา.ปริญญาานิพนธ์ (ศศ.ม.) สาขาวิชาหลกัสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
8. ชญาน์นันท์ ใจดี, เสริมศรี สันตติ และชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2555 : 389-403
9. ชัญญานุช ไพรวงษ์, วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์, ภูนรินทร์ สีกุดม. การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม- เมษายน 2560 : 107-116
10. อวาทิพย์ แว. ปัจจัยด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาในเขตเทศบาลนครยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2550
11. รสวันต์ อารีมิตร, สุภิญญา อินอิว, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, ศิริไชย์ หงส์สงวนศรี, สมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล. ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น. นนทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2559
12. ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร.อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. 2543
13. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. 2545. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 304-305
14. จังหวัดยะลา. มาตรการการป้องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 [ออนไลน์] 2563. เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.yala.go.th/covid.php?page=8
15. Saud A. Alsulaiman and Terry Lynn Rentner.The Health Belief Model and Preventive Measures: A Study of the Ministry of Health Campaign on Coronavirus in Saudi Arabia. 2018. JOURNAL OF INTERNATIONAL CRISIS AND RISK COMMUNICATION RESEARCH 2018, VOL. 1, NO1: 27–56
16. Marcelo Fernandes CostaI. Health belief model for coronavirus infection risk determinants. Revista de Saude Publica. [Internet]. VOL.24 (2020) Retrieved 26 August 2020 from http://www.revistas.usp.br/rsp/article/view/169519

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26