การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายใต้กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ขององค์การบริหารส่วนตำบลปอพานอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นพณพิชญ์ ศรีรัตนประชากูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, ผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว องค์การบริหารส่วนตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มประชาชน กลุ่มภาคการเมือง และกลุ่มวิชาการด้านสาธารณสุข จำนวน 262 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนากระบวนการที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่มี 6 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทของพื้นที่และวิเคราะห์สภาพการณ์ (2) จัดประชุมวางแผนเชิงปฏิบัติการ (3) กำหนดโครงการ 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และโครงการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 2 การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคล กิจกรรมที่ 3 การติดตาม ประเมินผลและการรายงานผลการดำเนินงาน (4) ดำเนินงานตามโครงการที่ได้วางแผนไว้ (5) ติดตาม นิเทศ สนับสนุนการปฏิบัติตามโครงการ (6) สรุปผลและประเมินผล ข้อเสนอแนะกลับไปสู่การพัฒนา ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากกองทุน และญาติ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ พร้อมทั้งกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการแก้ไขกระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความกระตือรือร้นตั้งแต่เริ่มต้น ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบอย่างมุ่งมั่น ออกติดตามและประเมินผลงานที่ดำเนินการร่วมกัน จนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

References

1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรผู้สูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงของมนุษย์: กรุงเทพฯ; 2557.
2. สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และคณะ. การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กลุ่มงานอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
3. Lafortune G. and Balestat G.,Trends in Severe Dissbility Among Elderly People: Asssing the evidence in 12 OECD countries and the future implication. OECD Employment, Labour and Social Affair Committee. Health Working Papers,0-1; 2007.
4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.



5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. สรุปการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2560. มหาสารคาม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2560.
6. Kemmis, S. andMcTaggart, R.The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1990.
7. ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสานที่มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561.
8. ทัศนีย์ อนันทวัน. รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม; 2559.
9. ระเบียบ เทียมมณี และคณะ. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาทตามความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการมารับการรักษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, ตุลาคม-ธันวาคม; 2554.
10. ชวลิต สวัสดิ์ผล และคณะ. การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ; 2559
11. พนมวัลณ์ แก้วหีด และคณะ. การบริหารโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26