ผักผลไม้ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
คำสำคัญ:
ผักและผลไม้, สุขภาพ, สารเคมีฆ่าแมลงตกค้างบทคัดย่อ
ผักและผลไม้เป็นสิ่งจำเป็น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งในปัจจุบัน ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้ปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ความต้องการบริโภคผัก และผลไม้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นการกำจัดศัตรูพืช รักษารูปลักษณ์ของผลผลิต และเพิ่มปริมาณผลผลิต หากการใช้สารไม่ถูกต้อง หรือผิดวิธี อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้ศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีที่ตกค้างในผักและผลไม้ โดยการรวบรวมงานวิชาการ การศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยในอาหาร โดยเฉพาะผักและผลไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสำคัญของมนุษย์
จากผลการศึกษาการตรวจพบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างจากงานวิจัยที่ทำการศึกษา แสดงให้เห็นว่าผักที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยส่วนใหญ่มีการตกค้างอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐานตามกฎหมายกำหนด แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับสารเคมีอันตรายเหล่านี้ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
การเลือกซื้อผักจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เลือกซื้อผักปลอดสารพิษ การล้างผักผลไม้ให้สะอาดอย่างถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงในการได้รับสารเคมีตกค้างจากการรับประทานผักและผลไม้ อย่างไรก็ดีควรมีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ควบคุมการใช้สารเคมี และกำหนดมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
References
สุรชัย สังข์งาม, กัมปนาท ศักรางกูล, ลัดดาพร ครองนุช, กัญจนพร ยุวเศวต, อรัญญา ชนะดี, คณิต หนูพลอย. การปนเปื้อนสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟสและคาร์บาเมตและวิธีการล้างผักสดในตลาด จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษาตลาดสดโพหวาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 2(1); 1-8. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/download/230497/164289/828634
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. บทที่ 2 การตรวจเอกสาร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://dc.oas.psu.ac.th/dcms/files/04275/ch2.pdf
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. Consumer Thai [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค; 2556. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.consumerthai.org/consumers-news/consumers-news/food-and-drug/1685-2013-11-26-15-32-28.html
ทีมข่าว TCIJ. TCIJ Thai [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tcijthai.com/news/2019/05/scoop/9456
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. Thai pan. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช; 2554. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipan.org/data/369
มหาวิทยาลัยบูรพา. ผลกระทบสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา;2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54930051.pdf
ปรียานุช นารถสิทธิ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต].พ.ค.-ส.ค. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 35(2); 44-56. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/download/215036/149778/
หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. Med info 2 [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_showpic.php?newsID=850&tyep_ID=2
บุญเลิศ อิมราพร. Vejthani [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเวชธานี; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.vejthani.com/th/2021/02/ผลไม้หาทานง่าย-ช่วยลดพุ/
GQ Thailand [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บริษัท เซเรนดิพิตี้ มีเดีย จำกัด; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwio4NLa-f_9AhWA9zgGHeClCfYQFnoECA0QAQ&url=https%3A%2F%2Fwww.gqthailand.com%2Flifestyle%2Farticle%2F10-foods-add-water&usg=AOvVaw3kQRlbTiHapSejcEC3XVXN
ไทยโพสต์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ไทยโพสต์; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipost.net/main/detail/25506
เทคโนโลยี ชาวบ้าน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน); 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_73392
มนู โป้สมบูรณ. การผลิตผลไม้นอกฤดูเพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาด [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/11/fruit-out-of-season.pdf
มนัส ชยาพัฒน์, ฌานิทธิ์ สันตะพันธู์. ปัญหาการควบคุมสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ [อินเทอร์เน็ต]. ม.ค.-มิ.ย. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 9(1); 76-85. เข้าถึงได้จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/download/242554/164631/843766
สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) [อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี: สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9558
กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://env_data.onep.go.th/reports/subject/view/86
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ผลกระทบจากสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=05%20Natawut.pdf&id=1711&keeptrack=3
มหาวิทยาลัยบูรพา. ผลกระทบสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา;2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/549
Sanook.com [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: Sanook.com ; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sanook.com/health/28501/
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/fruit-2/
เปมิกา บุญยาพรกุล, ณัฐนันท์ สุริยาเวชวงศ์, จุฬาลักษณ์ ศรีสวัสดิ์, บัญญวัต รัตนวิเชียร, ภูมิภัทร ภัทรวิตตากร, ปณวรรณ โฆษิตสกุล, และคณะ. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผลไม้สดในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง [อินเทอร์เน็ต]. มี.ค.-ส.ค. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 9(1); 36-46. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/254264/174314
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การตรวจวิเคราะห์สารเคมีฆ่าแมลงตกค้างกลุ่มออร์กาโน ฟอสเฟต ไพรีทอยด์และคาร์บาเมตจำแนกตามชนิดของผลไม้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1631092415.pdf
วิโรจน์ เจ้ยเปลี่ยน, นพวรรณ เปียซื่อ,จินตนา ศิริวราศัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การใช้สารเคมีกำจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะ สุขภาพของเกษตรกรที่ทำงานสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต]. ก.ย.-ธ.ค. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 29(3); 89-100. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUNS/article/download/121567/92697/315718
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/628
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipan.org/action/1107
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipan.org/action/540
ศุจิมน มังคลรังษี, สุวพิชญ์ เตชะสาน, วีรยา สินธุกานนท์, จิดาภา รัตนถาวร, ธัญณ์สิริ วิทยาคม, ภูษณิศา กิจกาญจนกุล, และคณะ. ความชุกของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ตกค้างในผักที่จําหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. ต.ค.-ธ.ค. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 8(4); 129-140. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/258133/177271
รัตนา ทรัพย์บำเรอ, สุรัตน์ หงษ์สิบสอง, นลิน สิทธิธูรณ์. การศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช:กรณีศึกษาในเกษตรกรปลูกกระเทียม จังหวัดพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 26(1); 20-31. เข้าถึงได้จาก: https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1756/1228
สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [อินเทอร์เน็ต]. ม.ค.-เม.ย. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 9(1); 50-63. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/31481/35246/98450
สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์, นาถธิดา วีระปรียากูร. ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. วารสารศูนย์บริการวิชาการ [อินเทอร์เน็ต]. ก.ค.-ก.ย. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]: 10(3); 35-41. เข้าถึงได้จาก: https://uac.kku.ac.th/journal/year_10_3_2545/09_10_3_2545.pdf
ThaiHealth Official. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=226553
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก [อินเทอร์เน็ต]. นครปฐม: ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/vegetable/
แสงเดือน อินชนบท. Researchx [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก:https://researchex.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/24-vegetable/60-vegetpotion02
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://warning.acfs.go.th/en/articles-and-research/view/?page=49
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. Masci [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก https://www.masci.or.th/service/cert-tas/