ประสิทธิภาพความเป็นพิษ และความคงทนของทรายเคลือบสารทีมีฟอส จุลินทรีย์ และสารโนวาลูรอนต่อลูกน้ำยุงลายบ้าน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

作者

  • สัญญา พระพิชิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พรรณเกษม แผ่พร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

关键词:

ลูกน้ำยุงลายบ้าน, ทรายเคลือบสารทีมีฟอส 1%, จุลินทรีย์ Bti, สารโนวาลูรอน

摘要

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ความไว และความคงทนของทรายเคลือบสารทีมีฟอส จุลินทรีย์แบคทีเรีย บีทีไอ และสารโนวาลูรอนต่อลูกน้ำยุงลายบ้านในพื้นที่อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เปรียบเทียบกับลูกน้ำยุงลายบ้านจากห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ประสิทธิภาพ ความเป็นพิษเฉียบพลัน LC50 ในเวลา 24 ชั่วโมง (ทีมีฟอสและ Bti) และ 72 ชั่วโมง (โนวาลูรอน) ผลการวิจัยพบว่า ค่า LC50 ของทรายเคลือบสารเคมีทีมีฟอส 1% Bti และสารโนวาลูรอนต่อลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ มีค่าเท่ากับ 0.00809, 0.06705 และ 0.01103 มิลลิกรัมต่อลิตร (ตามลำดับ) ความต้านทานต่อสาร (RR50) ของลูกน้ำในพื้นที่เปรียบเทียบกับลูกน้ำในห้องปฏิบัติการของทรายเคลือบสารเคมีทีมีฟอส 1 % Bti และสารโนวาลูรอน มีค่าเท่ากับ 1.72, 1.12 และ 0.73 เท่า (ตามลำดับ) ความคงทนของทรายเคลือบสารทีมีฟอส 1 % กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ในโอ่งน้ำใช้งานและไม่ใช้งาน เท่ากับ 2 และ 6 สัปดาห์ (ตามลำดับ) ความคงทนของ Bti กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ในโอ่งน้ำใช้งานและไม่ใช้งาน เท่ากับ 1 และ 2 สัปดาห์ (ตามลำดับ) ความคงทนของสารโนวาลูรอน กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ในโอ่งน้ำใช้งานและไม่ใช้งาน เท่ากับ 2 และ 4 สัปดาห์ โดยสรุปลูกน้ำยุงลายบ้านในพื้นที่ อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง มีความไวต่อทรายเคลือบสารทีมีฟอส 1 % Bti และสารโนวาลูรอนในระดับสูง หมายถึงลูกน้ำยุงลายบ้านยังไม่มีความต้านทานต่อสารทั้ง 3 ชนิดนี้ ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกใช้สารกำจัดลูกน้ำยุงลายนี้ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายบ้านเป็นพาหะในพื้นที่ได้ ให้เหมาะสม

参考

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ไข้เลือดออก [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaivbd.org/n/home

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแสวงหา. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. อ่างทอง: สำนักงาน สาธารณสุขอำเภอแสวงหา; 2560.

Ponlawat A, Jefferey G, Laura C. Insecticide susceptibility of aedes aegypti and aedes albopictus across Thailand. J. Med. Entomol 2005; 42: 821-825.

วิชัย สติมัย, สมบูรณ์ เถาว์พันธ์, บุญเทียน อาสารินทร์. การทดลองการควบคุมและป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลายโดยการใช้จุลินทรีย์เบื้องต้น. วารสารมาลาเรีย 2541; 35(4) : 175 -183.

กิตติ ปรมัตถผล, พีระเดช ศิริเขต. การควบคุมลูกน้ำยุงลายแบบต่อเนื่องโดยใช้สารโนวาลูรอนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551; 17(2) : 285 - 294.

World Health Organization. Instruction for determining the susceptibility or resistance of adult mosquito to organochlorine, organophosphate and carbamate insecticides establishment of the base line. WHO/VBC/1981; 806.

World Health Organization. Introductions for determining the susceptibility or resistance of mosquito larvae to insecticides. 1981; 807 : 11-26.

เกรียงศักดิ์ เจตนะจิตร. ประสิทธิภาพ ความไวและความคงทนของทรายเคลือบสารเคมีทีมีฟอส 1 % และเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis var. israelensis ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายบ้าน ในอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

วาสนา สอนเพ็ง, สุภาณี พิมพ์สมาน, สมศักดิ์ อรรฆศิลปะ. ความต้านทานของลูกน้ำยุงลาย Aedes aegypti Linnaeus (Dipter : Culicidae) ต่อสารทีมีฟอส. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2552; 18(5) : 650 - 654.

ธำรง ผลชีวัน, สุนัยนา สท้านไตรภพ, อำนาจ บุญเครือพันธุ์, สมชาย แสงกิจพร. การศึกษาฤทธิ์คงทนของทรายอะเบทในการควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedes aegypti ในสภาพธรรมชาติและกึ่งธรรมชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 58(3) : 161-167.

Mulla MS, Thavara U, Tawatsin A, et al. Laboratory and field evaluation of Novaluron, a new Acylurea Insect Growth Regulator against Aedes aegypti (Diptera: Culicidae). J Vector Ecol. 2003; 28(2) : 241 – 254.

##submission.downloads##

已出版

2019-01-29

栏目

บทความวิจัย