ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา

Authors

  • รุ้งกานต์ พลายแก้ว สมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ท่าทางการทำงาน, กลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อ, ผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา, Working Posture, Musculoskeletal Disorders, Rubber Plantation Workers

Abstract

บทคัดย่อ
ปัจจัยด้านการยศาสตร์โดยเฉพาะท่าทางการทำงาน เป็นปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่ส่งผลต่อการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่าทางการทำงานอัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างท่าทางการทำงาน และกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา จำนวน 235 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ และการสังเกตท่าทางการทำงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียลและสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า
ผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารามีความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับท่าทางการทำงานอยู่ในระดับสูงร้อยละ44.07 และระดับสูงมากร้อยละ 42.13 มีอัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่าง และกล้ามเนื้อในชว่ ง 12 เดือน และ 7 วันทีผ่ า นมาเท่า กับร้อยละ 87.66 และ ร้อยละ 65.11 ท่าทางการทำงานมีความสมั พันธ์ทางบวกในระดับตํ่ากับกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อทั้งในช่วง 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = 0.151, p = 0.020 และ rpb = 0.152, p = 0.019) นอกจากนี้ท่าทางการทำงานเฉพาะขั้นตอนการเคลื่อนย้ายนํ้ายางมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่ากับกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อทั้งสองช่วงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = 0.208, p = 0.001 และrpb = 0.135, p= 0.038) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักในความสำคัญของการจัดการอบรมความปลอดภัยในการทำงานเพื่อส่งเสริมท่าทางการทำงานที่ปลอดภัยเพื่อลดการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน
คำสำคัญ: ท่าทางการทำงาน กลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อ ผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา

Abstract
Ergonomic risk factors especially working posture is a significant occupational health hazard,resulting in musculoskeletal disorders particularly among agricultural workers. The purpose ofthis correlational descriptive study was to examine working posture, the prevalence rate ofmusculoskeletal disorders, and the association between working posture and musculoskeletaldisorders among 235 rubber plantation workers, chosen through purposive sampling. Datacollection was conducted using interviews and working posture observations. Data analysis wasperformed using descriptive statistics, point biserial correlation, and chi-square.
The results of study
44.07 percent of rubber plantation workers had the risk associated with working postureat a high level, while 42.13 percent of them had the risk associated with working posture ata very high level. The prevalence rate of musculoskeletal disorders among the samples duringthe past 12 month and 7 day periodswas 87.66 percent and 65.11 percent. Working posturepositively and significantly associated with musculoskeletal disorders both during the past 12month and 7 day periods at a low level (rpb = 0.151, p = 0.020 and rpb = 0.152, p = 0.019). Further, working postureonly during the process of latex handling positively and significantlyassociated with musculoskeletal disorders during the both periods at low levels (rpb = 0.208,p = 0.001 and rpb = 0.135, p = 0.038). The results of this study indicate that occupationalhealth nurses and related health team should recognize the importance of training for safework practices to promote safe working posture. This is anticipated to reduce the occurrenceof musculoskeletal disorders as well as improve work efficiency among workers.
Key words: Working Posture, Musculoskeletal Disorders, Rubber Plantation Workers

Downloads

How to Cite

พลายแก้ว ร., จันทร์ประสิทธิ์ ช., & แก้วธรรมานุกูล ธ. (2014). ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา. Nursing Journal CMU, 40(1), 1–10. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18901