ผลของการออกกำลังกายแบบโนราแขกต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • อรทัย ชูเมือง โรงพยาบาลปัตตานี
  • ศิริรัตน์ ปานอุทัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทศพร คำผลศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การออกกำลังกายแบบโนราแขก, ความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ, Norakaag Exercise, Hypertension, Older Persons

Abstract

บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยและมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหากไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ การออกกำลังกายแบบโนราแขกเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่อาจช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบโนราแขกต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับบริการที่คลินิกความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปัตตานี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2554 จำนวน 52 ราย โดยทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 รายโดยทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในด้านเพศ อายุ ความดันโลหิต และกลุ่มยาที่ใช้ควบคุมความดันโลหิต โดยกลุ่มทดลองออกกำลังกายแบบโนราแขก ครั้งละ 50 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมไม่ได้ออกกำลังกายแบบโนราแขก เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยวิดีทัศน์การออกกำลังกายแบบโนราแขก ที่พัฒนาขึ้นโดยอรทัย ชูเมือง, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และทศพร คำผลศิริ (2553) และเครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจแบบไร้สาย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการทดสอบแมนวิทนี – ยู (Mann-Whitney U test) และการทดสอบวิลคอกสัน (Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความดันโลหิตซิสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิคในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงภายหลังการออกกำลังกายแบบโนราแขกตํ่ากว่าก่อนการออกกำลังกายแบบโนราแขก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001)
2. ความดันโลหิตซิสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิคในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบโนราแขกตํ่ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายแบบโนราแขก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบโนราแขกสามารถลดระดับความดันโลหิต ดังนั้นจึงสามารถนำการออกกำลังกายรูปแบบนี้ไปใช้ในการควบคุมความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ: การออกกำลังกายแบบโนราแขก ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ

Abstract
Hypertension is a common chronic disease, with an increase in incidences among olderpersons. Uncontrolled hypertension can contribute to serious complications. Norakaag exercise is onetype of aerobic exercise that may control blood pressure. This experimental research aimed to examinethe effect of Norakaag exercise on blood pressure among older persons with hypertension.Subjects included 52 essential hypertensive older persons who attended the Out-Patient Clinicat Pattani hospital from February to May 2010. The subjects were purposively selected andrandomly assigned into an experimental and a control group, with 26 persons in each group,matched by sex, age, blood pressure level and antihypertensive drugs used. Subjects in theexperimental group performed Norakaag exercise 50 minutes per session, three times per weekfor ten weeks, while those in the control group did not participate in this exercise.The instruments used in this study consisted of Norakaag exercise videotape developedby Chumuang, Panuthai and Khampolsiri (2010) and a portable heart rate monitor. The tool usedto collect data is a mercury sphygmomanometer. Data were analyzed using descriptive statistics,Mann-Whitney U test and Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test.
The results of study
1. Both systolic and diastolic blood pressure in the experimental group after Norakaagexercise were statistically significantly lower than before at level of p < 0.001.
2. Both systolic and diastolic blood pressure in the experimental group after Norakaagexercise were statistically significantly lower than those of the control group at level of p < 0.001.Results of this study indicate that Norakaag exercise could lower blood pressure amongthe elderly with essential hypertension. Therefore, this type of exercise could be used as a methodfor controlling blood pressure in the elderly with hypertension.
Key words: Norakaag Exercise, Hypertension, Older Persons

Downloads

How to Cite

ชูเมือง อ., ปานอุทัย ศ., & คำผลศิริ ท. (2014). ผลของการออกกำลังกายแบบโนราแขกต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Nursing Journal CMU, 40(1), 11–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18903