ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตต่อพฤติกรรมการกำกับตนเอง ระดับความดันโลหิตและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • สุพิณญา คงเจริญ โรงพยาบาลสุขสำราญ จ.ระนอง
  • ชดช้อย วัฒนะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ธีรนุช ห้านิรัติศัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

โปรแกรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิต, โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการกำกับตนเอง, ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, ชาวไทยมุสลิม, Self-Regulation Program, Hypertension, Self-Regulation Behaviors, Stroke Risk, Thai Muslim People

Abstract

บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชาวไทยมุสลิม การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตต่อพฤติกรรมการกำกับตนเอง ระดับความดันโลหิตและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่มารับบริการในคลินิกโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสุขสำราญ จังหวัดระนองและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่าย 3 แห่ง สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการจับคู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองแนวคิดของแคนเฟอร์ (Kanfer, 1991) ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มย่อย การส่งเสริมพฤติกรรมการกำกับตนเองและการฝึกทักษะการกำกับตนเองเพื่อควบคุมโรคโดยการอภิปรายกลุ่มย่อย การติดตามกระตุ้นพฤติกรรมการกำกับตนเองโดยเยี่ยมบ้านและการติดตามทางโทรศัพท์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติโดยบุคลากรทางสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินระดับความดันโลหิต ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตก่อนเริ่มโครงการ หลังเข้าร่วมโครงการ 1 เดือน และหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติที สถิติทีคู่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า
ผลการวิจัย พบว่า
ภายหลังเข้าร่วมโครงการ 1 เดือน และ 3 เดือน กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (p< 0.001, p< 0.001 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.001, p< 0.001 ตามลำดับ) และภายหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือนพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตทั้งซิลโตลิคและไดแอสโตลิค รวมทั้งภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตํ่ากว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (p< 0.001, p< 0.001, และ p< 0.001 ตามลำดับ) และตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.001, p< 0.001, และ p=0.001 ตามลำดับ)
คำสำคัญ: โปรแกรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิต โรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการกำกับตนเอง ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ชาวไทยมุสลิม

Abstract
Hypertension is a major health problem among Thai Muslim people. The objective ofthis quasi-experimental study was to determine the effects of a self-regulation program forblood pressure control on self-regulation behaviors, blood pressure level, and stroke riskamong Thai Muslim people with hypertension. The sample who came for follow-up visits atthe hypertension clinic, Suksumran Hospital and three health promotion hospitals in Ranongprovince. The subjects were randomly assigned into experimental and control groups usingmatch-paired technique. The experimental group participated in a self-regulation program forblood pressure control, including a small group education session, four small group discussionsessions, one home visit, and a phone call visit. The control group received the usualnursing care. The self-regulation behaviors were measured at baseline, at 1-month, and 3-month, while blood pressure level and stroke risk were measured at baseline and 3-month.The self-regulation behaviors questionnaires were approved by five experts. The content validityindex was 0.96, and the Cronbach’s alpha coefficient was 0.86. Data were collected using aself-regulation behavior questionnaire, measurement of blood pressure, and the FraminghamStroke Risk Profile. Data were analyzed using a Descriptive statistic, Independent t-test, Pairedt-test and Repeated Measure Analysis of Variances.
The results of study
At 1-month and 3-month after enrollment, the experimental group showed asignificant higher in self-regulation behaviors than baseline (p < 0.001, and p < 0.001, respectively)and than those in the control group (p < 0.001, and p < 0.001, respectively). In addition, at3- month after entering the program, the results indicated that the experimental group showed asignificant lower in systolic blood pressure, diastolic blood pressure, and stroke risk than beforeentering the program (p< 0.001, p < 0.001, and p< 0.001, respectively) and than those in thecontrol group (p < 0.001, p < 0.001, and p = 0.001, respectively).
Key words: Self-Regulation Program, Hypertension, Self-Regulation Behaviors, Stroke Risk,Thai Muslim People

Downloads

How to Cite

คงเจริญ ส., วัฒนะ ช., & ห้านิรัติศัย ธ. (2014). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตต่อพฤติกรรมการกำกับตนเอง ระดับความดันโลหิตและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Nursing Journal CMU, 40(1), 23–33. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18904