ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ภาวะอ้วนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและการหายจากภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
Keywords:
โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ภาวะอ้วน, ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมAbstract
บทคัดย่อ
ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองภาวะอ้วน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและการหายของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกลุ่มตัวอย่าง 90 ราย ที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่งในจังหวัดกาญจนบุรี คัดเลือกโดยการสุ่ม (กลุ่มทดลอง 46 ราย กลุ่มควบคุม 44 ราย) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองที่พัฒนาจากทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนและแนวคิดการจัดการตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยเครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธี อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแคว์ สถิติที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมและแมนวิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าโครงการ 4 และ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนเข้าโครงการและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ หลังเข้าโครงการ 12สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าดัชนีมวลกาย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพศหญิงมีเส้นรอบวงเอวตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศชายมีเส้นรอบวงเอวเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุอย่างไม่มีนัสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มทดลองหายจากภาวะเมตาบอลิกซินโดรมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองโดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและควรทำการศึกษาซํ้าโดยคำนึงถึงสัดส่วนระหว่างเพศของประชากร
คำสำคัญ: โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเอง พฤติกรรมการจัดการตนเอง ภาวะอ้วน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
Abstract
The metabolic syndrome is a risk of cardiovascular disease. The aim of thisQuasi-experimental study was to examine the effects of promoting Self-Efficacy in aSelf-management program on self-management behaviors, obesity, cardiovascular disease riskand regression of metabolic syndrome among 90 people with metabolic syndrome, who camefor followed up visit at a community hospital, and two health promoting hospitals, Kanchanaburiprovince. Subjects were randomly assigned to the experimental and control groups (46 and 44persons). The experimental group received a Self-management program that was developedbased on Self-efficacy Theory and Self-management concept. The control group received a usualnursing care. The instruments in this experiment verified the validity of content experts and theconviction by the way Cronbach’s alpha was 0.80 and 0.8, respectively. Data were analyzedusing descriptive statistic, Chi-square test, T-test, Repeated Measure ANOVA, ANCOVA, andMann Whitney-U. Findings indicated that at 4 and 12 weeks after enrollment, the experimentalgroup demonstrated a significant higher score of self-management behaviors than baseline andthan the control group. At 12 weeks, results showed that the experimental group demonstrateda significant lower body mass index, lower cardiovascular disease risk than the control group.The experimental groups showed a significant lower waist circumference than the control grouponly in women, but increased more than the control group were not significant difference in men.In addition, the experimental group demonstrated a significant higher in regression of metabolicsyndrome than the control group.
The results of study
The effectiveness of the Self-management program that can be used in persons withmetabolic syndrome. Further studies should be replicated by concern the proportion of genderamong persons with metabolic syndrome.
Key words: Promoting Self-efficacy in a Self-management Program, Self-management Behaviors,Obesity, Cardiovascular Disease Risk, Metabolic Syndrome
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว