การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

Authors

  • กรรณิการ์ กันธะรักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฉวี เบาทรวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นันทพร แสนศิริพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุภาพร วรมรรคไพสิษฐ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • อัจฉรา คำแหง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • วีนัส จันทร์แสงศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก, การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, การเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก, Development of clinical practice guidelines (CPGs), Breastfeeding Promotion, EarlyInitiation of Breastfeeding

Abstract

บทคัดย่อ
นมมารดาอุดมไปด้วยสารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก มีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อต่างๆ การส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรกสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างต่อเนื่อง และการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรกนั้นจำเป็นต้องมีทางแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและเหมาะสม การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council [NMRC], 1999) แบ่งระดับความน่าเชื่อถือและคุณภาพของหลักฐานอ้างอิงและข้อเสนอแนะในการนำไปปฏิบัติ ตามเกณฑ์ของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (Joanna Briggs Institute [JBI], 2009) ประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพจำนวน 33 ราย
ผลการวิจัย พบว่า
แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จากหลักฐานเชิงประจักษ์ 12 ฉบับ แบ่งหมวดหมู่เป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การให้ความรู้และฝึกทักษะการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรกให้แก่บุคลากร 2) การให้ข้อมูลมารดาเกี่ยวกับการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก 3) การลดอุปสรรคหรือสิ่งขัดขวางการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในห้องรอคลอดและห้องคลอด 4) การปฏิบัติตามขั้นตอนของการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างมารดากับทารกและการจัดท่าทารก และ 5) การดูแลทารกแรกเกิด พิจารณาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติจากระยะเวลาที่มารดากับทารกมีการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อภายหลังคลอด ทารกมีความสำเร็จในการอมหัวนมหรือดูดนมมารดา ความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาครั้งแรก และมีปริมาณนํ้านมที่เหมาะสมก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล สำหรับความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก พบว่ากลุ่มผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติทางคลนิกทุกรายเห็นดว้ ยว่าแนวปฏิบัติทางคลินิกดังกล่าวมีความชัดเจน เข้า ใจง่าย และสามารถนำ ไปใช้ได้จริง
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่าแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก ควรนำไปใช้ในทางคลินิก และการวิจัยในครั้งต่อไปควรศึกษาผลลัพธ์ของการนำแนวปฏิบัติไปใช้
คำสำคัญ: การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก

Abstract
Breast milk provides the optimal nutrition for infants and offers health benefits as wellas immunity from infections. The early initiation of breastfeeding increases the continuance ofsuccessful breastfeeding. Success in promoting the early initiation of breastfeeding needs relevantand suitable guidelines. This developmental study aimed to develop clinical practice guidelines(CPGs) for promoting the early initiation of breastfeeding in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital.The guidelines were developed following the methods outlined by the Australian National Healthand Medical Research Council (1999) Joanna Briggs Institute Levels of evidence and grades ofrecommendation (2009) were used for the strength of the evidence. The CPGs were assessedfor validity by three experts. In addition, a test for the feasibility of the CPGs was done with thirtythree professional nurses.
The results of study
The CPGs for promoting the early initiation of breastfeeding in Maharaj NakornChiang Mai Hospital were developed from 12 evidences. The CPGs consisted of five domains:1) providing the knowledge and skills in promoting the early initiation of breastfeeding to healthcare providers, 2) providing information regarding the early initiation of breastfeeding to thewoman, 3) reducing hospital barriers to breastfeeding in the labor and delivery units, 4) facilitatingearly mother-infant skin-to-skin contact and good position and 5) caring for the newborn. Majoroutcomes considered are duration of mother-infant skin-to-skin contact, infant success inattaching to the breast and latching on, success of the first breastfeeding, and adequate breast milk before discharge. From the feasibility test, all subjects strongly agree that CPGs were lucid,applicable, and feasible to implement in clinical unit.
The results of this study show that the CPGs for promoting the early initiation ofbreastfeeding should be implemented in the clinical setting. Further study should consider theoutcome of implementation.
Key words: Development of clinical practice guidelines (CPGs), Breastfeeding Promotion, EarlyInitiation of Breastfeeding

Downloads

How to Cite

กันธะรักษา ก., เบาทรวง ฉ., แสนศิริพันธ์ น., วรมรรคไพสิษฐ์ ส., คำแหง อ., & จันทร์แสงศรี ว. (2014). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 40(1), 62–73. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18908