การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Keywords:
การมีส่วนร่วมของมารดา, การดูแล, ทารกเกิดก่อนกำหนด, หออภิบาลทารกแรกเกิด, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง,Abstract
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดมีประโยชน์ต่อทั้งทารกเกิดก่อนกำหนด มารดา และพยาบาล แต่อย่างไรก็ตามความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดยังมีน้อย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา การได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดา และความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของเชปป์ เป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และโรงพยาบาลลำปาง จำนวน 88 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ (2) พยาบาลวิชาชีพทั้งหมดที่ปฏิบัติการดูแลทารกในหออภิบาลทารกแรกเกิดของทั้ง 3 โรงพยาบาลดังกล่าวจำนวน 65 ราย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายนพ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวบข้อมูลได้แก่ (1) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด (2) แบบสอบถามความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา (3) แบบสอบถามการได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดา และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติความสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสเปียร์แมน
ผลการวิจัย พบว่า
มารดาทุกรายได้มีส่วนร่วมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด โดยรวมร้อยละ 63.6 มีส่วนร่วมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมรายด้าน ในด้านกิจกรรมที่ทำประจำ พบว่า ร้อยละ 48.9 และร้อยละ 31.8 มีส่วนร่วมในระดับน้อยและปานกลาง ตามลำดับในด้านกิจกรรมพยาบาล พบว่าร้อยละ 54.5 มีส่วนร่วมในระดับน้อย ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลพบว่าร้อยละ 67.0 มีส่วนร่วมในระดับมาก ส่วนในด้านการตัดสินใจ พบว่าร้อยละ 65.9 มีส่วนร่วมในระดับน้อยการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดโดยรวมและรายด้านทั้งสี่ด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rtt = 0.517, p < 0.001; rrc = 0.375, p< 0.001;rtc = 0.439, p< 0.001; ris = 0.309, p< 0.01; และ rd = 0.474, p< 0.001 ตามลำดับ) การมีส่วนร่วมของมารดาโดยรวมและรายด้านไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของมารดาทั้งโดยรวมและรายด้านไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด
ผลการวิจัยช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด และเห็นความสำคัญของการเตรียมเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของมารดา การดูแล ทารกเกิดก่อนกำหนด หออภิบาลทารกแรกเกิดปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Abstract
Maternal participation in caring for preterm infants in the Neonatal IntensiveCare Unit (NICU) is beneficial for preterm infants, mothers, and nurses. However, relatedknowledge is limited. The purpose of this study was to describe maternal participation incaring for preterm infants in NICU and related factors including severity of preterm infants’sillness as perceived by mothers, maternal preparation for caring for preterm infants, andnurses’ opinion regarding maternal participation. The concept of parent participation ofSchepp (1995) was used as the framework for this study. The study sample included (1)88 mothers of preterm infants admitted to NICU of Maharaj Nakon Chiang Mai Hospital,Buddhachinaraj Pitsanulok Hospital, and Lumpang Hospital from June to October 2011,selected by purposive sampling; and (2) 65 NICU professional nurses of these three hospitals.The study instruments were comprised of: (1) Maternal Participation Scales in Caring forPreterm Infants in NICU, (2) Scale of Severity of the Preterm Infant’s Illness as Perceivedby Mothers, (3) Scale of Maternal Preparation for Caring Preterm Infants, and (4) Nurses’Opinion Regarding Maternal Participation in Caring for Preterm Infants in NICU. Data wereanalyzed using descriptive statistics, Pearson, and Spearman Rank Correlation.
The results of study
All mothers reported participating in caring for preterm infants in NICU. Of the mothers,63.6% reported participating in their preterm infant care at a moderate level. Considering eachdimension, 48.9% and 31.8 % reported participating in routine care at low and moderate levels,respectively. In the technical care dimension, 54.5% of them reported participating in routinecare at a low level. In the information sharing dimension, 67% of them reported participatingat a high level. In the decision-making dimension, 65.9% of them reported participating ata low level.
Overall maternal participation as well as the four dimensions of maternal participationwere found to be positively related to maternal preparation in caring for preterm infants ata moderate level (rtt = 0.517, p< 0.001; rrc = 0.375, p< 0.001; rtc = 0.439, p< 0.001; ris =0.309, p< 0.01; and rd = 0.474, p< 0.001 respectively.) There were no relationships betweenthe overall and dimensional maternal participation, and severity of preterm infant’s illness asperceived by mothers. In addition, there were no relationships between overall and dimensionalmaternal participation, and nurses’ opinion regarding the maternal participation.
The results of this study provide nurses with an understanding of maternal participationin caring for preterm infants in NICU and recognizing the importance of maternal preparationfor caring preterm infants on maternal participation in caring for preterm infants in NICU.
Key words: Maternal Participation, Caring, Preterm Infants, Neonatal Intensive Care Unit,Related Factors
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว