การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Authors

  • มณีมร ตุลาบุตร วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • สุธิศา ล่ามช้าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พัชราภรณ์ อารีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การมีส่วนร่วม, การดูแลเด็ก, เด็กเจ็บป่วยเฉียบพลัน, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Abstract

บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นแนวคิดสำคัญก่อให้เกิดผลดีทั้งเด็กเจ็บป่วย บิดามารดา และพยาบาล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยของเชปป์ (Schepp, 1995) เป็นแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือมารดาของเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลัน อายุ 1 เดือน - 5 ปี จำนวน85 ราย และพยาบาลจำนวน 30 ราย โรงพยาบาลแขวงจำปาสักและโรงพยาบาลแขวงสะหวันนะเขต ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาลของเชปป์ (Schepp, 1995) แปลเป็นภาษาไทยด้วยวิธีย้อนกลับโดยณิชกานต์ ไชยชนะ,ศรีพรรณ กันธวัง, และนันทา เลียววิริยะกิจ (2546) แบบสอบถามความรุนแรงของโรคตามการรับรู้ของบิดามารดาของไกรวรร กาพันธ์, ศรีพรรณ กันธวัง, และอุษณีย์ จินตะเวช (2553) แบบสอบถามความรู้ของมารดาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเด็กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาลของณิชกานต์ ไชยชนะ และคณะ (2546)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัย พบว่า
1. มารดาทุกรายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลัน โดยร้อยละ 61.2 มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กเจ็บป่วยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันรายด้านพบว่า มารดาส่วนใหญ่ร้อยละ 96.5 มีส่วนร่วมด้านกิจกรรมที่ทำประจำอยู่ในระดับมากร้อยละ 58.8 มีส่วนร่วมด้านกิจกรรมการพยาบาล และร้อยละ 68.2 มีส่วนร่วมด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 50.6 มีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อย และร้อยละ 4.7 ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
2. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรุนแรงของโรคตามการรับรู้ของมารดา และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเฉียบพลันของเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.417, p < 0.01 และ r = 0.225, p < 0.05 ตามลำดับ) และการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของพยาบาลต่อการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วย
ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลที่ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อไป
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม การดูแลเด็ก เด็กเจ็บป่วยเฉียบพลัน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Abstract
Maternal participation in caring for hospitalized children with acute illness is animportant concept that beneficial for children, parents and also nurses. The purpose of thiscorrelational descriptive research was to examine maternal participation in caring for hospitalizedchildren with acute illness, Lao People’s Democratic Republic and related factors. Schepp’sconcept of parents participation (1995) was used as a framework of the study. The study sample,selected by purposive sampling, included 85 mothers of children with acute illness agedfrom one month to 5 years, and 30 nurses in Campssak hospital and Savanakhet hospitalduring July to September 2011. The study instruments composed of Parents ParticipationScales of Schepp (1995), which was translated in to Thai by Chaichana et al (2003);Scale of Severity of the Child’s Illness as Perceived by Parent, which was developed byKaphan et al (2010); Maternal Knowledge on Child’s Illness Questionnaire, which was developedby the researcher; and Nurse’s Opinion in Maternal Participation Questionnaire, which wasmodified from Parents Participation Scales of Chaichana et al (2003). Data were analyzedusing descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman rank correlation.
The results of study
1. All mothers participated in caring for children with acute illness. Sixty one pointtwo percent reported participating in their children the overall of care at a high level. Whenconsidering each aspect of care, most of the mothers (96.5%) reported participating in routinecare at a high level, fifty eight point eight percent reported participating in technical care andsixty eight point two percent reported participating in information sharing at a high level. Fiftypoint six percent of mother reported participating in decision - making at low level while fourpoint seven percent do not participate in decision - making.
2. Maternal participation in caring for children with acute illness had a statisticallysignificant positive relationship with severity of the child’s illness as perceived by the motherand maternal knowledge about the child’s illness (r = 0.419, p < 0.01 and r = 0.225, p < 0.05,respectively). Maternal participation in caring for children with acute illness has no relationshipwith nurse’s opinion in maternal participation in caring for children.
This study results provided information for understanding maternal participation incaring for children with acute illness and related factors, and this information can be usedas a guide to promote maternal participation in caring for children with acute illness in LaoPeople’s Democratic Republic.
Key words: Participation, Caring, Children with Acute Illness, Lao People’s DemocraticRepublic, Related Factors

Downloads

How to Cite

ตุลาบุตร ม., ล่ามช้าง ส., & อารีย์ พ. (2014). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. Nursing Journal CMU, 40(1), 102–114. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18911