พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Keywords:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, นักศึกษาระดับปริญญาตรีAbstract
อาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความสำคัญในการดำรงชีวิตและส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่ เพศ ชั้นปี ดัชนีมวลกาย และสุขภาพโดยรวม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวน 631 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า
กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 73.2 และเพศชาย ร้อยละ 26.8 มีอายุระหว่าง 17 – 25 ปี ส่วนมากมีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ ร้อยละ 65.1 กลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพโดยรวมระดับดี ร้อยละ 41.0 ระดับพอใช้และดีมาก ร้อยละ 34.4 และ 24.6 ตามลำดับ ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.1 และระดับดี ร้อยละ 31.9 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามตัวแปรที่ศึกษา พบว่า เพศกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)และสุขภาพโดยรวมกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ในขณะที่ชั้นปีกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและดัชนีมวลกายกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการบ่งบอกถึงสุขภาวะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับนักศึกษาต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว