การวิเคราะห์สถานการณ์ทางคลินิกเกี่ยวกับการจัดการดูแลภาวะช็อกจากการติดเชื้อในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Keywords:
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, การจัดการดูแล, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมAbstract
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่พบว่ามีอัตราการตายสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีการนำความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื่อมาใช้แล้วก็ตาม การวิเคราะห์สถานการณ์ทางคลินิกนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์ทางคลินิกเกี่ยวกับการจัดการดูแลภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตามองค์ประกอบ 3 ด้านของโดนาบีเดียน (Donabedian, 2003) ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ โดยประชากรได้แก่ ผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ผู้บริหารโรงพยาบาล ศัลยแพทย์และพยาบาล รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจรายการด้านโครงสร้างของหน่วยงาน แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยหลังได้รับการดูแล แบบสอบถามผู้บริหารเกี่ยวกับโครงสร้างของหน่วยงานในการจัดการดูแล แบบสอบถามศัลยแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย และแบบสอบถามพยาบาลในการจัดการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สรุปเนื้อหาในภาพรวม
ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านโครงสร้าง พบว่า มีเครื่องมือและเวชภัณฑ์เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย แต่ยังไม่มีแนวปฏิบัติในการจัดการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อของหอผู้ป่วยที่เป็นลายลักษณ์อักษร และบุคลากรด้านสุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วยยังมีไม่เพียงพอ
2. ด้านกระบวนการ พบว่า ศัลยแพทย์ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 67.39 พยาบาลปฏิบัติกิจกรรมทั่วไปกับผู้ป่วยมากกว่าเน้นการประเมินและดูแลภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
3. ด้านผลลัพธ์ พบว่า อัตราตายของผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 62.50 และผู้ป่วยทุกคนเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงยังไม่มีการบันทึกผลลัพธ์ที่สมบูรณ์
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว