ปัจจัยการทำนายภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

Authors

  • ประภาพร จินันทุยา วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • บุญชู ศิริจินดากุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภาวะโภชนาการ, ภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

Abstract

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหารระยะหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์และความรุนแรงการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย ร้อยละของน้ำหนักที่ลดลง ความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ระดับอัลบูมินและซีอาร์พีในเลือดกับภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหาร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายโดยศึกษาไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 145 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหารและเข้ารับการรักษาที่แผนกศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ แบบคัดกรองภาวะทุพโภชนาการและแบบบันทึกภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคชนิดหลายตัวแปร

 

ผลการวิจัย พบว่า

อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัดของกลุ่มตัวอย่างพบร้อยละ 65.5 ระดับซีอาร์พี ระยะก่อนผ่าตัดและอายุมีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (odd ratio 3.57, 2.69; 95% confidence interval 1.42 to 8.94, 1.30 to 5.57; p=0.007, 0.008; ตามลำดับ) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการประเมินโอกาสเสี่ยงของผู้ป่วยในระยะก่อนผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญและสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัดได้ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทีมสุขภาพในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะหลังผ่าตัดโดยการวางแผนส่งเสริมโภชนบำบัดตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด

Downloads

Published

2012-08-31

How to Cite

จินันทุยา ป., & ศิริจินดากุล บ. (2012). ปัจจัยการทำนายภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหาร. Nursing Journal CMU, 39(5), 74–85. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/33324