การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานอนามัยโรงเรียน กลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Keywords:
ระบบฐานข้อมูล, งานอนามัยโรงเรียน, การพยาบาลสาธารณสุขAbstract
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ Research & Development (R & D) มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ชุดความรู้งานอนามัยโรงเรียน พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานอนามัยโรงเรียน และศึกษาความสามารถในการใช้งาน (Usability) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลงานอนามัยโรงเรียนกลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจง คือ คณาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 15 คน บุคลากรโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลงานอนามัยโรงเรียน แบบสอบถามสถานการณ์การจัดการข้อมูล แนวคำถามการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability) ของระบบฐานข้อมูล และแบบสอบถามความสามารถในการใช้งาน (Usability) ของระบบฐานข้อมูล ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินงานและระยะประเมินผล โดยใช้วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle) เป็นกรอบการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
ชุดความรู้งานอนามัยโรงเรียน ประกอบด้วย 3 หมวด ได้แก่ หมวด 1 หลักสูตรงานอนามัยโรงเรียน หมวด 2 คู่มือการเรียนรู้ในการดูแลปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียน และหมวด 3 สื่อการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน ในส่วนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานอนามัยโรงเรียน โดยใช้วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle)ได้ระบบฐานข้อมูลงานอนามัยโรงเรียนที่เข้าถึงได้ที่ www.nurse.cmu.ac.th/ohschool และด้านความสามารถในการงาน (Usability)ของระบบสารสนเทศ พบว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่าระบบฐานข้อมูลนี้มีความเหมาะสมในด้านความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนหน้าจอ การออกแบหน้าจอโดยรวม และรูปแบบอักษรที่ใช้ในระดับมากที่สุด และเห็นว่าระบบฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการใช้งาน ภาพนิ่งที่นำเสนอมีความเหมาะสม ความน่าใช้งานของระบบในภาพรวม และความเหมาะสมของกราฟฟิคที่นำเสนอในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 50 และจากการสนทนากลุ่มอาจารย์พยาบาล และนักศึกษาพยาบาลต่อความสามารถในการใช้งาน (Usability) ของระบบฐานข้อมูลอนามัยโรงเรียน พบว่า ระบบฐานข้อมูลอนามัยโรงเรียนนี้เป็นระบบที่เข้าถึงง่าย ใช้งานง่าย จัดเก็บง่าย แก้ไขง่าย สวยงาม ครบถ้วนและถูกต้อง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว