การตอบสนองด้านสรีรวิทยาของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะเริ่มดูดเต้านมมารดาก่อนกำหนด
Keywords:
การตอบสนองด้านสรีรวิทยา, ทารกเกิดก่อนกำหนด, ดูดเต้านมมารดาAbstract
ทารกเกิดก่อนกำหนดมีภาวะด้านสรีรวิทยาที่ไม่คงที่เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของอวัยวะเกือบทุกระบบ การให้ทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับนมทางสายยางเริ่มดูดเต้านมมารดาก่อนกำหนดอาจมีผลต่อภาวะทางสรีรวิทยาของทารกได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองด้านสรีรวิทยาของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะเริ่มดูดเต้านมมารดาก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคือทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ 30 – 32 สัปดาห์และมารดาซึ่งทารกรับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2552 จำนวน 40 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้นมทางสายยางปกติของหอผู้ป่วย (กลุ่ม) จำนวน 20 ราย และกลุ่มทดลองที่เริ่มดูดเต้านมมารดาก่อนกำหนด จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่อุปกรณ์ที่ใช้ในการห่อตัวและให้ความอบอุ่นแก่ทารกและช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่ถูกต้องและสุขสบายขณะให้ทารกดูดเต้านม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล เครื่องพัลส์ออกซิมิเตอร์ ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพตามหลักการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของอุปกรณ์ทางการแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติโคโมโกรอฟสเมอนอฟ สถิติทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระต่อกัน และสถิติ Repeated ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
อุณหภูมิกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนก่อนและหลังให้นม อัตราการเต้นของหัวใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนขณะให้นมของทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่เริ่มดูดเต้านมมารดาก่อนกำหนดและทารกกลุ่มที่ให้นมทางสายยางตามปกติของหอผู้ป่วยไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p < 0.05) และอยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิกายก่อนและหลังให้นม อัตราการเต้นของหัวใจและความอิ่มตัวของออกซิเจนก่อน ขณะและหลังให้นมของทารกทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p < 0.05) และอยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า การให้ทารกเกิดก่อนกำหนดเริ่มดูดเต้านมมารดาก่อนกำหนดไม่ส่งผลในทางลบต่อภาวะด้านสรีรวิทยาของทารก ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการให้ทารกเกิดก่อนกำหนดเริ่มดูดนมเองโดยการดูดเต้านมมารดาอันจะนำไปสู่การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาต่อไปDownloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว