ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่อความรุนแรงของอาการและภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Authors

  • เนตรชนก พิมพ์บึง
  • ชดช้อย วัฒนะ
  • ธีรนุช ห้านิรัติศัย

Keywords:

โปรแกรมการจัดการอาการ, ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การรักษาด้วยเคมีบำบัด

Abstract

          ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด มักมีอาการข้างเคียงที่ส่งผลต่อภาวะทุพโภชนาการและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่อความรุนแรงของอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดและภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดและเข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยสุ่มได้กลุ่มทดลองจำนวน 22 ราย และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการโดยประยุกต์แนวคิด/แบบจำลองการจัดการอาการของดอดด์และคณะ (2544) กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวบข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดความรุนแรงของอาการ เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องตรวจระดับความเข้มข้นของเลือดซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ไคสแคว์ ฟิชเชอร์เอ็กแซกท์และสถิติทดสอบที

         ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม 4 สัปดาห์ 1) กลุ่มทดลองมีระดับความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนและท้องเสียน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p < .05) ขณะที่ความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบไม่แตกต่างกัน (p>.05) 2) กลุ่มทดลองมีภาวะโภชนาการดีกว่ากลุ่มควบคุมกล่าวคือ น้ำหนักตัวและระดับฮีมาโตคริท ลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01 และ p<.05ตามลำดับ)แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการอาการมีประสิทธิภาพในการลดระดับความรุนแรงของอาการข้างเคียงจากเคมีบำบัดและช่วยแก้ปัญหาที่มีผลต่อภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัดได้

Downloads

Published

2015-11-30

How to Cite

พิมพ์บึง เ., วัฒนะ ช., & ห้านิรัติศัย ธ. (2015). ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่อความรุนแรงของอาการและภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด. Nursing Journal CMU, 42, 73–83. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57266