ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Keywords:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจAbstract
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราปอดอักเสบพบสูงขึ้นและมีอัตราตายสูง การส่งเสริมให้พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อมีความสำคัญในการควบคุมและลดภาวะแทรกซ้อนการใช้เครื่องช่วยหายใจการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการมใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2557 มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรพยาบาล จำนวน 28 รายและผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 128 ราย แนวปฏิบัติครั้งนี้เป็นการประยุกต์แนวคิด The PRECEDE - PROCEED Model มาเป็นกรอบแนวคิดโดยยึดหลักความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้คู่มือ การใช้โปสเตอร์การกระตุ้นเตือนและการให้ข้อมูลย้อนกลับ ใช้แนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทยของสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย (2550) มาเป็นแนวทางในการกำหนดข้อปฏิบัติในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ12 สัปดาห์โดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและแบบบันทึกอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนการปฏิบัติโดยใช้ paired t-test เปรียบเทียบอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบ โดยใช้อัตราอุบัติการณ์ (incidence rate)
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรพยาบาลมีคะแนนการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ(p<.01)ประกอบด้วย การดูแลความสะอาดช่องปากและฟัน (p<.001) การดูแลจัดท่านอนและการพลิกตัว (p<.05) การดูแลให้อาหารทางสายยาง(p<.01) การดูดเสมหะ(p<.001) และการดูแลท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์ของเครื่องช่วยหายใจ(p<.001)อุบัติการณ์ปอดอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05)
ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดการติดเชื้อปอดอักเสบลงได้ โดยควรทำ การศึกษาซ้ำ ในระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว