ความเครียด การสนับสนุนทางสังคมและการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา
Keywords:
ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคม, การเข้ามามีส่วนร่วมของบิดา, ชายมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดาAbstract
การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้จะเป็นบิดา ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อภาวะสุขภาพของสตรีมีครรภ์ ทารกในครรภ์และตัวของผู้จะเป็นบิดาเอง การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จะเป็นบิดาครั้งแรก นับถือศาสนาอิสลาม ที่ภรรยาตั้งครรภ์และมารับฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 102 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความเครียดสวนปรุงแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของบิดา และแบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 .81 และ .93 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.1 และมีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 33.3 มีคะแนนความเครียดเฉลี่ย 36.84 คะแนน (S.D. = 14.23)
ชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดาส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.6 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมากมีคะแนนการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมเฉลี่ย 3.95 (S.D. = .60)
ชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดาส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.5 เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาเฉลี่ย 119.79 คะแนน (S.D. = 14.35)
การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .401, p = < .01) ความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดา
จากผลงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรสนับสนุนให้ผู้จะเป็นบิดาได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากภรรยา บุคคลรอบข้าง และพยาบาลผดุงครรภ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้จะเป็นบิดาเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภรรยาและทารกในครรภ์
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว