การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Authors

  • สุสัณหา ยิ้มแย้ม
  • อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล
  • จันทรรัตน์ เจริญสันติ
  • อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา
  • ปิยะนุช ชูโต
  • นงลักษณ์ เฉลิมสุข

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, การวิจัยและพัฒนา

Abstract

          การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการเรียนในห้องเรียนและนอกห้องเรียนซึ่งมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ที่น่าจะเหมาะสมสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ก่อนและหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ซึ่งระยะแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับกระบวนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ 2 โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่เคยเรียนกระบวนวิชานี้ จำนวน 9 คน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน จากนั้นคณะผู้วิจัยร่วมกันพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ส่วนระยะที่สองเป็นการทดลองใช้และประเมินผลการใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่กำลังเรียนกระบวนวิชานี้ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 131 คน โดยใช้แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที

          ผลการศึกษานี้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับกระบวนวิชาการพยาบาลมารดาทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ 2 ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งบรรยายและอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน พร้อมกับการมอบหมายงานทั้งงานกลุ่มและเป็นรายบุคคลให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการจัดทำรายงาน การใช้ระบบเครือข่ายค้นคว้าและทำแบบฝึกหัดท้ายบท การใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อมัลติมีเดีย หลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานคะแนนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในทุกทักษะอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 และผู้เรียนพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในระดับมากถึงมากที่สุดทั้งโดยรวมและในแต่ละวิธีการเรียนรู้

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือ ควรมีการพัฒนาการจัดการเรียนแบบผสมผสานสำหรับกระบวนวิชาอื่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนวิชาชีพการพยาบาล เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาที่ยากได้ดีขึ้นและยังสามารถใช้เพื่อศึกษาทบทวนด้วยตนเองได้ตลอดเวลาตามความต้องการ

 

Downloads

Published

2015-11-30

How to Cite

ยิ้มแย้ม ส., จารุวัชรพาณิชกุล อ., เจริญสันติ จ., อินทรางกูร ณ อยุธยา อ., ชูโต ป., & เฉลิมสุข น. (2015). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Nursing Journal CMU, 42, 129–140. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57271