การดูแลสุขภาพตามแนววิถีธรรมชาติ: การพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพ แบบองค์รวมของโรงพยาบาลแม่ลาว
Keywords:
การดูแลสุขภาพแนววิถีธรรมชาติ, การเสร้างเสริมสุขภาพ, สุขภาพองค์รวมAbstract
การดูแลสุขภาพตามแนววิถีธรรมชาติเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่สามารถดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นการใช้ฐานความรู้ดั้งเดิมจากชุมชนแบบธรรมชาติ และวัฒนธรรมเข้ามาในการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพแบบองค์รวมและเป็นจุดเด่นของการป้องกัน (Preventive Healing) นอกจากนี้ สุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health) ยังให้ความสำคัญสูงสุดกับการทำงานเชื่อมโยงของร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ หากส่วนหนึ่งส่วนใดมีปัญหา จะส่งผลกระทบถึงส่วนอื่นๆที่เหลือ บทความนี้เป็นการสังเคราะห์และถอดบทเรียนโรงพยาบาลแม่ลาวที่ได้พัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมโดยเน้นการผสมผสานกับวิถีธรรมชาติโดยใช้กรอบแนวคิดคำประกาศออตตาวาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 5 ด้าน ได้แก่ การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การเสริมสร้างการดำเนินการในชุมชนที่เข้มแข็ง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล และการปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยด้านผู้บริหารและการบริหารจัดการ ทีมสุขภาพ ชุมชน และเครือข่ายสุขภาพ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการดำเนินงานประกอบด้วย ความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลง การขาดผู้บริหารโครงการประจำ การขาดแคลนงบประมาณ การขาดความเข้าใจในแนวคิดองค์รวมและการขาดการเตรียมบุคลากรสำหรับดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่องในการบูรณาการการดูแลในแนววิถีธรรมชาติในบริการสุขภาพ บุคลากรด้านสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างแท้จริง และต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ทีมสุขภาพและชุมชน โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุดต้องเป็นผู้นำ มีความมุ่งมั่นและให้การสนับสนุนจึงจะประสบผลสำเร็จโรงพยาบาลและสถานให้บริการสุขภาพต่างๆควรหันมาให้ความสนใจและส่งเสริมให้มีการผสมผสานการดูแลในแนววิถีธรรมชาติในบริการสุขภาพหลักมากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายการศึกษาก็ควรมีการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาซึ่งจะเป็นบุคลากรสุขภาพในอนาคตให้มีความสามารถในการดูแลในแนววิถีธรรมชาติมากขึ้นและสามารถปฏิบัติได้จริง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว