ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
: ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลปัจจัยด้านผู้ดูแล, ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการพยาบาลบทคัดย่อ
ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยถ้าผู้ดูแล มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจะส่งผลให้มีคุณภาพการดูแลที่ดี การวิจัยแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้ดูแล ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 จำนวน 88 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินการรับรู้ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แบบประเมินคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และแบบประเมินการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81, 0.86, และ 0.92 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
* นักศึกษาปริญญาโท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* Graduate students, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, parimonh@gmail.com
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
** Assistant Professor, Faculty of Nursing, Chiang Mai University
*** อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
*** Lecturer, Faculty of Nursing, Chiang Mai University
ผลการศึกษา มีดังนี้
1. ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลโดยรวม ( =201.70, S.D.=27.64) และรายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านความรู้ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา และด้านความคาดหวังในการได้รับการช่วยเหลือ ตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง
2. คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายโดยรวม ( =140.28, S.D.=29.13) และรายด้าน ได้แก่ เนื้อหาการสอน และวิธีการสอนตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง
3. การประสานการดูแลก่อนจำหน่ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง ( =111.05, S.D.=15.39)
- 4. อายุ เพศ และลักษณะการอยู่อาศัยของผู้ดูแล ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยความเจ็บป่วยเดิม และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
- 5. คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายและการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลด้วยการสอน และการประสานการดูแล
References
บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์, สุพัตรา อังศุโรจน์กุล, พรพชร กิตติเพ็ญกุล และลัดดา ลาภศิริอนันต์กุล. (2554). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ปิยภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์. (2550). การกลับบ้านและการไปมีส่วนร่วมของสังคม. ใน กิ่งแก้ว ปาจรีย์ (บรรณาธิการ), การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (หน้า 281-294). กรุงเทพฯ: หจก.เอ็น.พี.เพรส
ภัทรา วัฒนพันธุ์. (2555). คู่มือการจัดการระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร. ในสมศักดิ์ เทียม เก่า, กาญจนศรี สิงห์ภู่, กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ และพัชรินทร์ อ้วนไตร (บรรณาธิการ), การจัดการ ฝ่ายฟื้นฟูสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 40-45). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2555). เจาะลึกปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30, 6-14
ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2557 ก). แบบประเมินความพร้อมในการจำหน่ายก่อนออกจากโรงพยาบาล ฉบับบิดา-มารดา ฉบับภาษาไทย. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2557 ข). แบบประเมินคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ฉบับบิดา-มารดา ฉบับภาษาไทย. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิรัชชา จิรจารุภัทร. (2551). การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิด ภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
สุภา สุทัศนะจินดา. (2555). คู่มือการจัดการระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร. ใน สมศักดิ์ เทียมเก่า, กาญจนศรี สิงห์ภู่, กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ และพัชรินทร์ อ้วนไตร (บรรณาธิการ), การ พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการบริการโรคหลอดเลือดสมอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 268-272). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
แสงเดือน กันทะขู้, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ฉัตรกนก ทุมวิภาต. (2552). ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน . Journal of Nursing Science, 21(2), 83-91.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555). “รายงานสถิติผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง”. สืบค้นจาก http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/ill55/ill- full2555.pdf
Anderson, C. S., Linto, J., & Stewart-Wynne, E. G. (1995). A population-based assessment of the impact and burden of caregiving for long-term stroke survivors. Stroke, 26(5), 843- 849.
Hadjistavropoulos, H., Biem, H., Sharpe, D., Bourgault-Fagnou, M., & Janzen, J. (2008). Patient perceptions of hospital discharge: Reliability and validity of a Patient Continuity of Care Questionnaire. International Journal for Quality in Health Care, 20(5), 314-323.
King, R. B., Hartke, R. J., & Houle, T. (2010). Patterns of relationships between background characteristics, coping, and stroke caregiver outcomes. Topics in Stroke Rehabilitation, 17(4), 308-317.
Meleis, A. I., Sawyer, L. M., Im, E. O., Messias, D. K., & Schumacher, K. (2000). Experiencing transitions: An emerging middle-range theory. Advances in Nursing Science, 23(1), 12- 28.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. R. R. Donnelley: Lippincott Williams & Wilkins.
Rodgers, H., Atkinson, C., Bond, S., Suddes, M., Dobson, R., & Curless, R. (1999). Randomized controlled trial of a comprehensive stroke education program for patients and caregivers. Stroke, 30(12), 2585-2591.
Weiss, M. E., & Piacentine, L. B. (2006). Psychometric properties of the readiness for hospital discharge scale. Journal of Nursing Measurement, 14(3), 163-180.
Weiss, M., Piacentine, L. B., Ancona, J., Gresser, S., Toman, S., & Vega-Stromberg, T. (2007). Perceived readiness for hospital discharge in adult medical-surgical patients. Clinical Nurse Specialist, 21(1), 31-42.
Weiss, M., Johnson, N. L., Malin, S., Jerofke, T., Lang, C., & Sherburne, E. (2008). Readiness for discharge in parents of hospitalized children. Journal of Pediatric Nursing, 23(4), 282- 295.
Weiss, M. E., & Lokken, L. (2009). Predictors and outcomes of postpartum mothers' perceptions of readiness for discharge after birth. Journal of Obstetric, Gynecologic, & Neonatal Nursing, 38(4), 406-417.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว