ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี
คำสำคัญ:
ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอีบทคัดย่อ
โรคเอสแอลอี เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถควบคุมอาการกำเริบและลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ และความเชื่อด้านสุขภาพเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ถึง เดือนมีนาคม 2561 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรค
เอสแอลอี 3) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอสแอลอี 4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอาการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอสแอลอี 5) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และ 6) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือวิจัยพัฒนาโดยผู้วิจัย ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอสแอลอี การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอาการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอสแอลอี และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูง ขณะที่การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง
- กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูง
- ความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอาการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอสแอลอี มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพ (r=-.24, p=.03) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับพฤติกรรมสุขภาพ (r=-.53, p<.001) ในขณะที่การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอสแอลอี และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ
ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางสุขภาพในการวางแผนกิจกรรม จัดการกับอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี สามารถปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมต่อไป
References
Chompusri, M., Srisuphan, W., & Tripiboon, D. (2008). Factors related to glycemic control behaviors among persons with diabetes mellitus at primary care unit, Sop Prap District, Lampang Province. Nursing Journal, 35(4), 120-121. (In Thai)
Injan, A., Naka, K., & Sangchan, H. (2016). Relationships between received information, perceived severity of illness and perceived activity performance in patient undergone open heart surgery. Retrieved from http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7395 (in Thai)
Junjai, K. (2011). Factors related to medication adherenc e among patients with Systemic
Lupus Erythematosus. (Unpublished master’s thesis), Mahidol University, Bangkok, Thailand.
(In Thai)
Jolly, M., Pickard, A. S., Mikolaitis, R. A., Cornejo, J., Sequeira, W., Cash, T. F., & Block, J. A. (2012). Body image in patients with systemic lupus erythematosus. International Journal of Behavioral Medicine, 19(2), 157-164.
Kasitanon, N., Louthrenoo, W., Sukitawut, W., & Vichainun, R. (2002). Causes of death and prognostic factors in Thai patients with systemic lupus. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology, 20, 85-91.
Polit, D.F., & Beck, C.T. (2008). Nursing research: Generating and assign evidence for nursing
practice (8th ed.). Philadelphia: Lippincott.
Rodmai, S. (2005). Factors influencing patients self care behavior among coronary heart disease at Sappasitthiprasong Hospital Changwat Ubonrajathani. (Unpublished master’s thesis), Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand. (In Thai)
Sasang, U. (2005). Factors influence adaptational behavior in systemic lupus erythematosus
patients. (Master of Nursing Science in Adult Nursing), Graduate School, Khon Kaen University. (In Thai)
Santiago, M. B., & Galvão, V. (2008). Jaccoud arthropathy in systemic lupus erythematosus:
Analysis of clinical characteristics and review of the literature. Medicine, 87(1), 37-44.
Saag, K.G., & Furst, D.E. (2013). Major side effects of systemic glucocorticoids. Retrieved from https://www.uptodate.com/contents/major-side-effects-of-systemic-glucocorticoids
Schmeding, A., & Schneider, M. (2013). Fatigue, health-related quality of life and other patient-
reported outcomes in systemic lupus erythematosus. Best practice & Research Clinical Rheumatology, 27(3), 363-375.
Thomas, D.E., & Thomas Jr, D.E. (2014). The lupus encyclopedia: A comprehensive guide for
patients and families. Maryland: JHU Press.
Tsokos, G. (Ed.). (2016). Systemic lupus erythematosus : Basic, applied and clinical aspects. London: Elsevier.
Tipmom, W., Siripul, P., & Sakdisthanont, S. (2016). Relations among selected factors, self-management and quality of life in adolescents with SLE. Journal of Nursing Science and Health, 39(3), 98-108. (In Thai)
Urairat, P. (2011). Factors influencing relapse prevention behaviors in lupus nephritis patients. (Unpublished master’s thesis), Mahidol University, Bangkok, Thailand. (In Thai)
Wantha, O. (2013). Rheumatology for nurse practitioners and allied health professionals. In Asavatanabodee, P. (Ed.). SLE: Autoimmune disease (pp. 346-390). Bangkok: City Print. (In Thai)
Yue, Z., Li, C., Weilin, Q., & Bin, W. (2015). Application of the health belief model to improve the understanding of antihypertensive medication adherence among Chinese patients. Patient Education and Counseling, 98(5), 669-673. doi: 10.1016/j.pec.2015.02.007
Zhu, T. Y., Tam, L. S., Lee, V. W. Y., Lee, K. K. C., & Li, E. K. (2009). The impact of flare on disease costs of patients with systemic lupus erythematosus. Arthritis Care & Research, 61(9), 1159-1167.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว